พุทธภาษิต ว่าด้วยเรื่อง...เปรียบเทียบ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
        (9) ว่าด้วยเรื่อง...เปรียบเทียบ
       นายตัมพทาฐิกะ...เป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม ได้เข้าสู่สํานักของโจร ๔๙๙ คนแล้ว ภายหลังโจรทั้งหมดถูกพระราชาจับได้ เพชฌฆาตไม่กล้าฆ่า โจร นายตัมพทาฐิกะจึงอาสาเป็นผู้ฆ่าโจรทั้งหมดเพื่อแลกกับชีวิตและได้ เป็นนายเพชฌฆาตสืบไป นายตัมพทาฐิกะรับหน้าที่เป็นเพชฌฆาตประจํา เมืองจนล่วงเข้าสู่วัยชราจึงถูกถอดออกจากตําแหน่ง เขาจึงระลึกถึงกรรม ที่ตนกระทํามาสิ้น ๕๕ ปี ได้ถวายทานแด่พระสารีบุตรแล้วร้อนใจในบุพกรรมของตนไม่อาจฟังอนุโมทนากถาและข้อธรรมได้ พระสารีบุตรจึงจําต้องลวงตัมพทาฐิกโจรให้เข้าใจว่าตนไม่มีบาป ตัมพทาฐิกโจรจึงมีแก่ใจ ฟังธรรมจนบรรลุโสดาบันสิ้นชีวิตในวันนั้นแล้วบังเกิดในชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลายโจษกันถึงแดนเกิดของตัมพทาฐิกโจรแล้วกล่าวกันว่าการฟังธรรมแค่นั้นไม่อาจเทียบกับอกุศลกรรมที่ตัมพทาฐิกโจรกระทําได้เลย พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่าพระธรรมของพระองค์ที่พระสารีบุตรแสดงกถาแก่ตัมพทา ฐิกโจรเพียงเล็กน้อยนั้นหากปฏิบัติตามก็ย่อมมีผลใหญ่อันประมาณมิได้  พร้อมตรัสพระคาถาว่า...

คำพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคำ
ก็สู้คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียวไม่ได้
เพราะฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ
       นางกุณฑลเกสี...ธิดาเศรษฐีที่ได้อยู่กินกับโจรใจบาปเพราะหลงรักโจรนั้น ภายหลังโจรได้ลวงนางไปฆ่าเพื่อชิงเอาทรัพย์ นางใช้อุบายผลักโจรตกเหวเพื่อเอาชีวิตรอดแล้วเที่ยวท่องไปในสํานักธรรมของปริพาชกผู้หนึ่ง นางศึกษาวิทยาสําเร็จสิ้นแล้วจึงเที่ยวถามปัญหาธรรมผู้อื่น พระสารีบุตร ได้ยินข่าวนั้นแล้วจึงไปตอบคําถามทั้งพันของนางได้สิ้นแล้วตั้งคําถามแก่นางข้อหนึ่ง นางตอบไม่ได้จึงขอบวชกับพระสารีบุตรจนบรรลุอรหัตผลภิกษุโจษกันเรื่องการบรรลุธรรมของนาง และการใช้อุบายชนะโจรใจโฉดนั้นได้ พระพุทธเจ้าทรงทราบความนั้นแล้วจึงตรัสภาษิตว่า...

บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
ประเสริฐกว่าบทกวี
ที่ท่องจำได้ตั้งร้อยโศลก
แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว
       อนัตถปุจฉกพราหมณ์...เข้ากราบทูลถามพระพุทธเจ้าถึงสิ่งไร้ประ  โยชน์ พระพุทธเจ้าตรัสว่ามี ๖ ประการ คือ การนอนตื่นสาย ความเกียจคร้าน ความดุร้าย การผลัดวันประกันพรุ่ง การเดินทางไกลแต่เพียงผู้เดียว การเข้าไปเสพภรรยาของผู้อื่น แล้วตรัสถามถึงการงานของพราหมณ์พราหมณ์ตอบว่าเล่นสกาเลี้ยงชีพได้บ้างเสียบ้าง พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า การชนะพนันไม่เท่าการชนะตนพร้อมตรัสภาษิตว่า...

“เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐสุด”

parson
priest
9.3  เอาชนะใจตน

9.4  ตนเป็นที่พึ่ง
buddha
9.1  หาประโยชน์มิได้

       พราหมณ์หลานของพระสารีบุตร...ได้ฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่ง แล้ว   บําเรอไฟทุกเดือนเพราะหวังพรหมโลก พระสารีบุตรจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสภาษิตว่า...

การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว
บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า
เป็นเวลาตั้งร้อยปี
clergyman
9.6
ปราศจากเวรภัย
มหาอานิสงส์ของการพิมพ์หนังสือธรรมะ

       “ ดูก่อนสารีบุตร  นรชนใดมีใจเปี่ยมด้วยศรัทธาได้สร้างหนังสือพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายได้อ่านได้สดับฟัง จะได้รับอานิสงส์ใหญ่อันประมาณมิได้...
    ดูก่อนสารีบุตร อย่าว่าแต่พระพุทธวจนะตลอดทั้งไตรปิฎกนั้นเลย “แม้อักขระธรรมหนึ่งตัว” เป็นเครื่องหมายเพื่อน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้ได้พบเห็น เป็นบ่อเกิดให้ประพฤติคุณงามความดีได้...
    ฉะนั้นแล้วจะยังผลให้ผู้สร้างได้เสวยสุขเกษมสิ้นกาลช้านาน  จักได้เสวยราชสมบัติเป็นบรมจักรพรรดิถึง 84,000 กัป ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นจักรพรรดิมาแล้วจะได้เสวยราชสมบัติเป็นพระราชาทรงมหิธานุภาพอีก 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นมาก็จะได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไปอันมีตระกูล พราหมณมหาศาล ตระกูลเศรษฐี คฤหบดี และภูมิเทวดาอย่างละ 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ไปเสวยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นประณีีตเป็นลำดับขึ้นไปชั้นละ 9 อสงไขย  เมื่อจุติจากเทวโลกแล้วก็จะถือเอากำเนิดในมนุษย์มีกายผุดผ่องโสภาเป็นที่ปฏิพัทธ์รักใคร่ของผู้ได้พบเห็น ทั้งน้ำใจก็สุจริตปราศจากมลทิน อานิสงส์ดังกล่าวมานี้เพราะอำนาจการสร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว ฯ”...
พระตถาคต
พุทธภาษิตจากพระโอษฐ์
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หมดกระวนกระวาย
สุขจริงหนอ
นิพพานสุขอย่างยิ่ง
ร่วมเย็นเป็นนิรันดร์
รสพระธรรม
ไหว้บุคคลเช่นไรประเสริฐยิ่ง
Copyright (c) 2010 All Rights Reserved.
สำนักพิมพ์เอกอนันต์บุ๊ค
Tel : 034-246644
Mobile : 085-0658236, 089-6726781
Fax : 034-246644
email : 96rangjai@gmail.com
โลโก้เอกอนันต์
    บุคคลหรือหน่วยงานใดสนใจจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่วัด  ห้องสมุด  โรงเรียน  โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์  ทัณฑสถาน ฯ หรือใช้ในโอกาสอันเป็นมงคลในชีวิตท่าน  เช่น วันเกิด   ทำบุญบ้าน  กฐิน  ผ้าป่า  วันขึ้นปีใหม่  งานเกษียณอายุราชการ  งานศพ  สร้างอุทิศส่วนกุศล  สะเดาะเคราะห์  หรือแจกจ่ายในงาน มงคล-อวมงคลต่างๆ
    อนึ่ง  ทางรสำนักพิมพ์มีความยินดีในกุศลเจตนาของท่านผู้มีใจอนุเคราะห์ช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจของชาวโลกด้วยกุศโลบายอันพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ขอร่วมอนุโมทนาบุญ โดยให้ความสะดวกในด้านบริการในราคาพิเศษและจัดส่งตามรายการสั่ง  ไม่ว่าซื้อน้อย-ซื้อมาก  ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด  ทางสำนักพิมพ์ยินดีให้บริการแก่ทุกท่าน
       พระพุทธเจ้า...ตรัสเมื่อพราหมณ์ลุงของพระสารีบุตรได้บริจาคทรัพย์พันหนึ่งทุกเดือนแก่พวกนิครนถ์ (นักบวชนอกศาสนา) เพราะหวังพรหมโลก พระสารีบุตรจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสภาษิตว่า...

การบูชาท่านผู้ฝึกตน
แม้เพียงหนึ่งครั้งก็บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน
เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี
clergyman
9.5  ผู้ที่ควรบูชา
ขึ้นบนสุด
 
ท่านผู้ที่สนใจต้องการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ
  "เพชรน้ำเอก" เล่ม 1,2,3 
เผยแพร่เป็นวิทยาทาน ติดต่อได้ที่
เณรน้อย
เสบียงบุญ
กลับสู่เมนูหลัก
       พราหมณ์สหายของพระสารีบุตร...ได้บูชายัญเพราะหวังพรหมโลก พระสารีบุตรจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสภาษิตว่า...

ไม่ว่ายัญชนิดไหนที่ผู้แสวงบุญพึงบูชาตลอดปี
การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในเสี้ยวของการ “ยกมือไหว้”
ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมรรค แม้เพียงครั้งเดียว
การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหนๆ
clergyman
9.7  ไหว้บุคคลเช่นไรประเสริฐยิ่ง
       พระทารุจีริยเถระ...ขณะเป็นฆราวาสเดินทางกลางมหาสมุทรแล้ว เรือโดนพายุจนแตก น้ำพัดไปสู่เกาะหนึ่งนุ่งเปลือกไม้อยู่ ชนทั้งหลายเข้า ใจว่าเป็นพระอรหันต์กล่าวยกย่องจนพระทารุจีริยเถระเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง จนกระทั่งมหาพรหมผู้เป็นอนาคามีอันเป็นสหายกันเมื่อครั้งศาสนาพระพุทธกัสสปะได้มาเตือนสติและแนะนําให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ นครสาวัตถี
    พระทารุจีริยเถระเดินทางเพียงคืนเดียวสิ้นระยะ ๑๒๐ โยชน์พบพระพุทธเจ้าแล้วขอฟังกถาธรรม พระพุทธเจ้าตรัสห้าม ๓ ครั้งเพราะเห็น ปีติที่มากเกินไปฟังธรรมแล้วไม่บรรลุ พระทารุจีริยเถระถูกตรัสห้าม ๓ ครั้ง ปีติลดลงแล้วพระพุทธเจ้าจึงตรัสธรรมเพียงว่า “พาหิยะ...เธอจงอย่าสนใจในรูป” เพียงเท่านี้พระทารุจีริยเถระก็บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปัญญาอันแตกฉาน
    ในวันนั้นพระทารุจีริยเถระถูกแม่โคขวิดตายเข้าสู่นิพพานแล้ว  พระพุทธเจ้าให้นําสรีระเผาแล้วบรรจุในสถูปด้วยความเป็นพระอรหันต์ของพระทารุจีริยเถระ ภิกษุทั้งหลายโจษกันว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเพียงเล็กน้อยพระทารุจีริยเถระบรรลุพระอรหันต์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

บทกวีตั้งพันโศลกแต่ไร้ประโยชน์
ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
buddha
9.2  มีประโยชน์มาก

ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพันๆ ศึก
ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล
แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน
จึงเรียก “ยอดขุนพล” แท้จริง
ecclesiastic
สุขจริงหนอ
ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา
ถึงเทวดา คนธรรพ์
และพระพรหม ก็เอาชนะไม่ได้

ecclesiastic
สุขจริงหนอ
คุณธรรม 4 ประการ
       อายุวัฒนกุมาร...พ้นมรณภัยจากอวรุทธกยักษ์ได้ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า มีอายุเจริญถึง ๑๒๐ ปี ภิกษุทั้งหลายโจษกันถึงเหตุแห่งอายุยืน พระพุทธเจ้าตรัสภาษิตว่า...

ผู้กราบไหว้
อ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล
ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ
อายุ ชื่อเสียง สุข และกำลัง
clergyman
9.8  คุณธรรม 4 ประการ
       ภิกษุ...บวชเมื่อแก่ ๓๐ รูปรับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้ว เดิน ทางเข้าป่าบําเพ็ญสมณธรรม พระพุทธเจ้าเล็งว่าจักมีภัยจากคนกินเดน จึงส่งสังกิจจสามเณรผู้เป็นพระอรหันต์ผู้มีปัญญาแตกฉานไปด้วย ภิกษุ  ทั้ง ๓๐ รูปนั้นแยกย้ายกันในป่าไม่อยู่รวมกันเพื่อเจริญกรรมฐานได้ง่ายขึ้น ภิกษุทั้งหลายไปทางเดียวกันเฉพาะเวลาภิกขาจารยามเช้าและเวลาบํารุง สังกิจจสามเณรในตอนเย็นเท่านั้น
       ชายผู้หนึ่งผ่านมาเพื่อเดินทางไปหาบุตรี ภิกษุได้เมตตาให้อาหารเลี้ยงชีพ ชายผู้นี้จึงขออาศัยอยู่ด้วยเพราะหวังอาหารที่เหลือจากภิกษุ ล่วงไป ๒ เดือนชายผู้นี้คิดถึงบุตรีได้ลักลอบหนีไปในป่าถูกโจรจับตัวไว้เพื่อทําพลีกรรม (บวงสรวง) ชายผู้นี้ได้แนะให้ไปจับภิกษุทั้ง ๓๐ รูปมาฆ่าเพื่อทําพลีกรรมแทนคนกาลกิณีเช่นตน
       โจรจับภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปและสังกิจจสามเณรต่างยอมสละชีวิตตนเพื่อภิกษุที่เหลือได้บําเพ็ญสมณธรรม ในที่สุดสังกิจจสาม เณรได้ไปกับพวกโจรโดยอ้างเจตนาของพระพุทธเจ้า โจรไม่อาจประหารสามเณรได้จึงเกิดความศรัทธาสังกิจจสามเณร ขอบรรพชากับสามเณรสิ้นทั้ง ๕๐๐ คน หลังจากนั้นสังกิจจสามเณรได้กลับไปเยี่ยมภิกษุทั้ง ๓๐ นั้น  แล้วเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสภาษิตว่า...

ผู้มีศีล มีสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของคนทุศีล ไร้สมาธิ
buddha
9.9  คนมีศีล - คนทุศีล

คนมีศีล - คนทุศีล
ผู้มีปัญญา - ผู้ทรามปัญญา
       พระโกณทัญญเถระ...ได้เข้าฌานสมาบัติในผาศิลาแห่งหนึ่ง พวกโจรลักทรัพย์เดินทางผ่านมาในยามวิกาลเข้าใจว่าพระเถระคือตอไม้ จึงนํา ห่อสมบัติวางบนศีรษะและข้างกายพระเถระ รุ่งเช้าพวกโจรเห็นว่าเป็นพระเถระจึงขมาโทษและขอบวชกันทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญโจร เหล่านั้นที่มีปัญญาเห็นค่าของธรรมะแล้วตรัสภาษิตว่า...

ผู้มีปัญญา มีสมาธิ
แม้มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ทรามปัญญา ไร้สมาธิ
clergyman
9.10  ผู้มีปัญญา - ผู้ทรามปัญญา
ผู้มีความเพียร - ผู้เกียจคร้าน
       พระสัปปทาสเถระ...ไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ พยายามฆ่าตัวตายโดยให้งูพิษกัดไม่สําเร็จ ภายหลังจะเอามีดโกนเชือดคอแต่ระลึกถึงคุณแห่ง ศีลบริสุทธิ์ที่ตนกระทํามา ความปีติแผ่ซ่านขึ้น แล้วจากนั้นพระสัปปทาสเถระก็ข่มปีติด้วยวิปัสสนาญาณเพียงชั่วครู่ก็บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ผู้มีความเพียรมั่นคง
แม้มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้เกียจคร้านไร้ความเพียร
clergyman
9.11  ผู้มีความเพียร - ผู้เกียจคร้าน
ผู้พิจารณา - ผู้ไม่พิจารณา
       นางปฏาจารา...ต้องสูญเสียสามี บุตร บิดามารดา และพี่ชาย นางโศกเศร้าจนเสียจริตเดินซัดเซพเนจรไปสู่วิหารที่พระพุทธเจ้าพํานักอยู่ พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเตือนสตินางจนบรรลุโสดาปัตติผล ภายหลังนางพิจารณาความไม่เที่ยงของชีวิต พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...
ผู้พิจารณาเห็นความเกิด-ดับแห่งสังขาร
แม้มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่พิจารณาเห็น
clergyman
9.12  ผู้พิจารณา - ผู้ไม่พิจารณา
ผู้พบทาง - ผู้ไม่พบ
       นางกิสาโคตมี...สูญเสียบุตรชายจึงออกบวชเป็นภิกษุณี พิจารณาเห็นประทีปที่ลุกโพลงขึ้นและหรี่ลง นางจึงพิจารณาถอนอาลัยในชีวิตและ ร่างกาย พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ผู้พบทางอมตะ
แม้มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่พบ

clergyman
9.13  ผู้พบทาง - ผู้ไม่พบ
ผู้เห็นธรรม - ผู้ไม่เห็น
       พระพหุปุตติกาเถรี...เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสสามีเสียชีวิตไปแล้ว บุตรทั้งหลายได้รบเร้าเอาสมบัติ เมื่อนางมอบสมบัติให้แล้วไม่่มีบุตรแม้สักคนหนึ่งเลี้ยงดูนาง นางจึงออกบวชเป็นภิกษุณี นางบําเพ็ญสมณธรรมโดยเดินจงกรมเวียนรอบต้นไม้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ผู้เห็นธรรมอันประเสริฐ
แม้มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่เห็น
clergyman
9.14  ผู้เห็นธรรม - ผู้ไม่เห็น