พุทธภาษิต ว่าด้วยเรื่อง...พระอรหันต์
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
        (4) ว่าด้วยเรื่อง...พระอรหันต์
       พระเทวทัต...ได้กลิ้งหินให้ตกลงมา สะเก็ดกระทบพระสรีระยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว หมอชีวกเป็นผู้พยาบาลอาการให้พระพุทธเจ้า   แล้วได้ออกนอกเมืองไปรักษาบุคคลอื่น หมอชีวกกลับมาไม่ทันเวลาประตูเมืองปิด ได้แต่ร้อนใจว่ายานั้นอาจร้อนเกินไปแก่พระพุทธเจ้าในกาลนี้ พระพุทธเจ้าทราบวาระจิตแล้วจึงให้พระอานนท์แก้ผ้าพันแผลออก รุ่งขึ้นหมอชีวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ตรัสถามถึงอาการของยาว่ามีความเร่าร้อนหรือไม่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ผู้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง
หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว
ความร้อนใจก็หมดไป
       ภิกษุทั้งหลาย...โจษกันว่่าพระมหากัสสปเถระเป็นผู้ข้องอยู่ในตระกูลและอุปัฏฐาก ปรารถนาจะได้ลาภสักการะและปัจจัย ๔ จากญาติและอุปัฏฐากทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงทราบความนั้นได้บอกแก่ภิกษุ   ทั้งหลายถึงความไม่ข้องในตระกูลและอุปัฏฐากของพระมหากัสสปะ แล้ว ตรัสภาษิตว่า...
ผู้มีสติย่อมขยันขันแข็ง
ไม่ยึดติดแหล่งที่อาศัย
ละทิ้งไปตามลำดับ
เหมือนกับพญาหงส์ทิ้งสระน้ำ
       พระเพฬัฏฐสีสเถระ...เห็นว่าการออกบิณฑบาตเรื่อยไปเป็นการ เบียดบังเวลาบําเพ็ญสมณธรรม จากนั้นจึงเที่ยวบิณฑบาตเพื่อนําข้าวมาตากแห้งเก็บสะสมไว้ ภิกษุอื่นโจษติเตียนกันถึงเรื่องนี้แล้ว พระพุทธเจ้าได้บัญญัติวินัยสันนิธิการสิกขาบทพร้อมตรัสภาษิตว่า...

ผู้ที่หมดการสะสม
พิจารณาโภชนะก่อนบริโภค เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมาย คือกิเลส
บุคคลเช่นนี้ ยากที่สามัญชนจะตามทัน
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า ตามทันยาก

       พระอนุรุทธเถระ...ออกหาผ้าบังสุกุลอันบุคคลทิ้งแล้ว นางเทพธิดาได้ทําอุบายถวายผ้าทิพย์แก่พระเถระ พระเถระรับผ้านั้นไว้เข้าสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายรวมถึงพระพุทธเจ้าได้ช่วยกันตัดเย็บผ้านั้นเป็นไตรจีวร เหล่า เทพธิดาทั้งหลายและพระอินทร์ได้คอยเป็นอุปัฏฐากถวายภัตตาหารเป็น อันมากแล้ว ภิกษุอื่นโจษกันว่าพระอนุรุทธโลภมากจึงชักชวนให้คนมาถวายภัตตาหารจนเหลือกินเหลือใช้ พระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้วจึงตรัสภาษิตว่า...
ผู้หมดกิเลส
ไม่เห็นแก่กิน เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมาย คือกิเลส
บุคคลเช่นนี้ มิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า หารอยอันใดมิได้
       พระมหากัจจายนเถระ...มักเข้าสู่วิหารเพื่อฟังธรรมเนืองๆ วันหนึ่งพระอินทร์เฝ้าคอยพระมหาเถระอยู่ เมื่อพระมหาเถระมาถึงแล้วพระอินทร์ได้เข้านวดเฟ้นปรนนิบัติ ภิกษุทั้งหลายโจษกันว่าพระอินทร์เห็นแก่หน้า เลือกปฏิบัติ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ท่านผู้ใดควบคุมอินทรีย์คือ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ได้
เหมือนม้าที่สารถีควบคุมได้อย่างดี
ท่านผู้นี้หมดความไว้ตัว หมดกิเลส มั่นคง
ย่อมเป็นที่โปรดปราน
แม้กระทั่งของเทวดาทั้งหลาย
       พระสารีบุตร...ถูกภิกษุบางรูปผูกอาฆาตว่าไม่สนทนากับตนบ้าง กระทําชายจีวรให้มากระทบตนบ้าง ได้ทูลฟ้องพระพุทธเจ้าแล้วพระพุทธเจ้าได้สอบสวนเรื่องนี้และให้พระสารีบุตรยกโทษแก่ภิกษุโมฆบุรุษนั้น พระสารีบุตรไม่ผูกใจเจ็บต่อภิกษุผู้ทูลฟ้อง พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

พระอรหันต์เปรียบได้กับแผ่นดิน
ไม่เคยโกรธขึ้งใคร มีจิตคงที่เหมือนหลักเมือง
มีจรรยาสะอาด เหมือนสระน้ำที่ใสไร้เปลือกตม
ผู้มีคุณสมบัติเห็นปานนี้
ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

pastor
4.6 คุณสมบัติของพระอรหันต์

parson
minister
priest
4.3 บุคคลที่ตามทันได้ยาก

4.4 ไม่ทิ้งร่องรอย

4.5 แม้เทวดายังโปรดปราน
monk
4.2 อิสระโดยแท้

buddha
4.1 พ้นแล้วจากโลกนี้

       เมื่อพระพุทธเจ้า...แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสถามพระ  สารีบุตรว่าเชื่อหรือไม่ว่าบุคคลผู้มีศรัทธามากย่อมหยั่งถึงอมตธรรมได้ พระสารีบุตรกล่าวว่าไม่เชื่อ เพราะศรัทธาหากไม่สดับ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทําให้แจ้งด้วยปัญญา บุคคลใดเชื่อด้วยศรัทธาเพียงอย่างเดียวก็อาจเชื่อคนเหล่า อื่นมีเดียรถีย์เป็นต้น ก็ด้วยศรัทธาเป็นประการเดียวได้เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายโจษกันว่าพระสารีบุตรอวดดีแข่งพระพุทธเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้วจึงตรัสภาษิตว่า...


ผู้ไม่เชื่อใครง่ายจนกว่า...
จะพิสูจน์ด้วยตนเอง ๑
ผู้รู้แจ้งพระนิพพาน ๑
ผู้หมดการเวียนว่ายตายเกิด ๑
ผู้หมดโอกาสที่จะทำดีหรือชั่ว ๑
ผู้หมดกิเลสที่ทำให้หวัง ๑
ห้าประเภทนี้แลเรียกว่า “ยอดคน”
clergyman
4.8 ยอดคน

       หญิงโสเภณีคนหนึ่ง...ได้นัดแนะบุรุษให้พบกันในสวนร้างยามวิกาล บุรุษนั้นมิได้มาตามนัด หญิงนั้นเกิดความกระสันแล้วเหลียวเห็นภิกษุรูปหนึ่งบําเพ็ญสมณธรรม นางคิดว่าภิกษุนี้คือบุรุษเช่นเดียวกัน จึงกระทํายั่วยวนพระเถระ พระพุทธเจ้าทราบการณ์ด้วยพระญาณแล้วจึงแสดงฤทธิ์ปรากฏแก่พระเถระแล้วตรัสภาษิตว่า...

ป่าที่คนทั่วไปไม่ชื่นชม
เป็นรมณียสถาน
สำหรับท่านผู้หมดราคะ
เพราะพระท่านมิได้ใฝ่กามคุณ
cleric
4.10 สถานที่อันรื่นรมณ์

ทุกข์ สุข อยู่ที่ใจ
สำคัญที่ใจ
มหาอานิสงส์ของการพิมพ์หนังสือธรรมะ

       “ ดูก่อนสารีบุตร  นรชนใดมีใจเปี่ยมด้วยศรัทธาได้สร้างหนังสือพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายได้อ่านได้สดับฟัง จะได้รับอานิสงส์ใหญ่อันประมาณมิได้...
    ดูก่อนสารีบุตร อย่าว่าแต่พระพุทธวจนะตลอดทั้งไตรปิฎกนั้นเลย “แม้อักขระธรรมหนึ่งตัว” เป็นเครื่องหมายเพื่อน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้ได้พบเห็น เป็นบ่อเกิดให้ประพฤติคุณงามความดีได้...
    ฉะนั้นแล้วจะยังผลให้ผู้สร้างได้เสวยสุขเกษมสิ้นกาลช้านาน  จักได้เสวยราชสมบัติเป็นบรมจักรพรรดิถึง 84,000 กัป ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นจักรพรรดิมาแล้วจะได้เสวยราชสมบัติเป็นพระราชาทรงมหิธานุภาพอีก 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นมาก็จะได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไปอันมีตระกูล พราหมณมหาศาล ตระกูลเศรษฐี คฤหบดี และภูมิเทวดาอย่างละ 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ไปเสวยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นประณีีตเป็นลำดับขึ้นไปชั้นละ 9 อสงไขย  เมื่อจุติจากเทวโลกแล้วก็จะถือเอากำเนิดในมนุษย์มีกายผุดผ่องโสภาเป็นที่ปฏิพัทธ์รักใคร่ของผู้ได้พบเห็น ทั้งน้ำใจก็สุจริตปราศจากมลทิน อานิสงส์ดังกล่าวมานี้เพราะอำนาจการสร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว ฯ”...
พระตถาคต
พุทธภาษิตจากพระโอษฐ์
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวรย่อมระงับ
หยุดจองเวร
จองเวรจองกรรม
ทะเลาะวิวาท
พญามาร
พ้นเงื้อมมือพญามาร
ทาสกิเลส
คู่ควรแก่การเคารพ
Copyright (c) 2010 All Rights Reserved.
สำนักพิมพ์เอกอนันต์บุ๊ค
Tel : 034-246644
Mobile : 085-0658236, 089-6726781
Fax : 034-246644
email : 96rangjai@gmail.com
โลโก้เอกอนันต์
    บุคคลหรือหน่วยงานใดสนใจจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่วัด  ห้องสมุด  โรงเรียน  โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์  ทัณฑสถาน ฯ หรือใช้ในโอกาสอันเป็นมงคลในชีวิตท่าน  เช่น วันเกิด   ทำบุญบ้าน  กฐิน  ผ้าป่า  วันขึ้นปีใหม่  งานเกษียณอายุราชการ  งานศพ  สร้างอุทิศส่วนกุศล  สะเดาะเคราะห์  หรือแจกจ่ายในงาน มงคล-อวมงคลต่างๆ
    อนึ่ง  ทางรสำนักพิมพ์มีความยินดีในกุศลเจตนาของท่านผู้มีใจอนุเคราะห์ช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจของชาวโลกด้วยกุศโลบายอันพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ขอร่วมอนุโมทนาบุญ โดยให้ความสะดวกในด้านบริการในราคาพิเศษและจัดส่งตามรายการสั่ง  ไม่ว่าซื้อน้อย-ซื้อมาก  ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด  ทางสำนักพิมพ์ยินดีให้บริการแก่ทุกท่าน
       พระติสสเถระ...บวชสามเณรให้กุมารน้อย โดยให้ “ตจปัญจก กัมมัฏฐาน” (ใช้ปัญญาพิจารณาผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง) แก่กุมารระหว่างที่พระติสส เถระกําลังปลงผมให้กุมารน้อย ในเวลาปลงผมกุมารน้อยเสร็จนั่นเองกุมาร น้อยก็บรรลุอรหัตผลถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ
       ภายหลังพระติสสเถระเดินทางพร้อมสามเณรเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กลางคืนพระเถระและสามเณรจําวัดในเสนาสนะเดียวกัน สามเณรเกรงว่าเมื่อตนนอนร่วมกับพระติสสเถระถึง ๓ คืนจะทําให้พระเถระต้องอาบัติ สามเณรจึงจําวัดโดยนั่งสมาธิรุ่งเช้า เมื่อพระเถระตื่นได้ใช้ด้ามพัดตีสามเณรเพื่อปลุกให้ตื่น ด้ามพัดโดนตาสามเณรแตก เมื่อพระเถระทราบว่า ตนทําให้สามเณรน้อยตาบอดจึงคุกเข่าลงไหว้ขอให้สามเณรยกโทษให้ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเนื้อความจึงตรัสภาษิตแสดงคุณของพระอรหันต์ว่า
พระอรหันต์ผู้เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง
ผู้สงบระงับและมีจิตมั่นคง
ใจของท่านย่อมสงบ
วาจาก็สงบ การกระทำทางกายก็สงบ
pastor
4.7 สงบในท่ามกลาง

       สามเณรเรวตะ...น้องชายของพระสารีบุตรบรรลุอรหัตผลแล้วต้องการไปเยือนตระกูลของตนพร้อมด้วยพระพุทธเจ้า ระหว่างทางต้องเดินทางผ่านป่าไม้สะแกอันรกชัฏ สามเณรเรวตะได้บันดาลให้เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์แล้ว ภิกษุ ๒ รูปคิดดูหมิ่นสามเณรเรวตะว่าทำเอาหน้า ภายหลังภิกษุ ๒ รูปต้องเดินทางไปเอาของที่ลืมไว้ แต่สถานที่นั้นกลับเป็นป่ารกชัฏ เช่นเดิม เมื่อภิกษุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานไปถึงที่หมายแล้ว นางวิสาขาได้ทูลถามถึงเหตุที่ภิกษุ ๒ รูปว่าสถานที่แห่งนั้นเป็นป่ารกชัฏ แต่ภิกษุอื่นว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...


ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือป่า
ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่มหรือที่ดอน
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด
ที่นั้นเป็นสถานอันน่าภิรมย์
clergyman
4.9 บารมีธรรมสาดส่อง

ขึ้นบนสุด
ท่านผู้ที่สนใจต้องการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ
  "เพชรน้ำเอก" เล่ม 1,2,3 
เผยแพร่เป็นวิทยาทาน ติดต่อได้ที่
เณรน้อย
เสบียงบุญ
 
กลับสู่เมนูหลัก