คุณธรรม 5 | ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ธรรมคือแรงใจ
96 ธรรมคือแรงใจ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
สิ่งใดที่เห็นว่าถูกต้องแล้ว ท่านจะต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะพาให้เกิดความท้อถอย ทำให้มีคนทำงานจริงน้อยลง งานทุกอย่าง คุณธรรม ทุกอย่าง จะเสื่อมทรามลงจนหมดสิ้น เมื่อท่านกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นตัวอย่าง ชักนำผู้มีความรู้สติปัญญาทั้งหลาย ให้มีกำลังใจและ มีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน
คุณธรรม
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๔)

1.    天时            * รู้กาล
2.    地利            * รู้สถานภาพ
3.    人和            * รู้คน


ฟ้า คือ คุณธรรมนั่นเอง  ผู้มีเมตตาและคุณธรรมจะมีกำลัง 3 ประการ 
1.    มีพละกำลังทางร่างกายแข็งแรง
2.    มีกำลังทางทรัพย์สินมาก
3.    มีกำลังทางสติปัญญามาก

องค์ประกอบแห่งความรุ่งเรือง   ความเจริญประกอบด้วยสามสิ่งคือ         
1. 德         คือ  คุณธรรม  คิดดี  ใฝ่ดี
2. 行         คือ   จริยธรรม  ทำดี  ปฏิบัติชอบ
3. 风水      คือภูมิทักษา ที่อยู่อาศัย โอกาส ยุทธภูมิ

อาศัยในสถานที่ดี  มีความเหมาะสม  มีความเจริญรุ่งเรือง

คุณธรรมที่ดีเลิศ :-   ดีใดไม่มีโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  ดีนั้น เรียกว่า ดีเลิศ
                            ขวางฟ้าวิบัติ      คล้อยตามรุ่งเรือง
               
ฟ้า คือ  ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่มีคุณสมบัติความดีงามพร้อมอยู่แล้วถึง  5  ประการ  ดังนี้คือ             

1.  仁       *เหยิน          เป็นความเมตตา
                                        
2.  義      *อี้                เป็นมโนธรรม
                                        
3.  禮     *หลี่              เป็นจริยธรรม
                                        
4.  智       *จื้อ              เป็นปัญญาธรรม
                                        
5.  信       *ซิ่น              เป็นสัตยธรรม

1.  เมตตาธรรม           

ทำความเข้าใจ  ความหมายของคำว่าเมตตากรุณา
                                 
เมตตา   คือ   ความต้องการให้สัตว์โลกมีความสุข

กรุณา   คือ    ความต้องการให้สัตว์โลกพ้นทุกข์

            ความทุกข์ของสัตว์โลกก็คือ   ความทุกข์ของสรรพ
สัตว์ในโลก  จะถือเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของตนเอง  ความ
เศร้าเสียใจของสรรพสัตว์    จะถือเป็นเสมือนความเศร้าเสียใจ
ของตนเอง   ทุกข์เหมือนกันเศร้าเหมือนกัน  ก็คือ  ความเห็น
ใจในทุกข์และเศร้านั้น  และจะช่วยหาวิธีให้พ้นจากความทุกข์
โศกเศร้านั้น  ๆ

              ถ้าพิจารณา  “เมตตา”   อันเป็นทางสายกลางของ
ศาสดาทั้งสาม  ประกอบด้วยพระพุทธเจ้า   เหลาจื้อ  และ
ขงจื้อ   มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้น
เอง  คือ

ท่านเหลาจื้อ     ให้บำเพ็ญ  木  (มู่)        ธาตุไม้                

ท่านขงจื้อ         ให้บำเพ็ญ 仁  (เหยิน)    เมตตา             

พระพุทธองค์   ให้รักษาศีล  ปาณาติปาตา  เว้นจากการเบียด
เบียนชีวิต  ธาตุไม้ในตัวคน  เมตตา  ล้วนเป็นสิ่งที่สงบเยือก
เย็นเป็นผู้ให้โดยปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น                  

เมตตาที่แท้จริงจึงประกอบไปด้วยลักษณะ  4  ประการ   คือ

1.    ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด ๆ จะเป็นญาติหรือคนที่รักหรือ
ชังล้วนได้รับความเมตตา

2.     ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้ว หรือ ล่วงไปนาน
เท่าใดก็ยังเมตตา

3.    ไม่ต้องการค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น  แม้เมตตา
แล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา

4.    ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ  ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูง  ต่ำ
ต้อย  ยากไร้อย่างไรก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกัน

               ความเมตตาเช่นนี้จึงมีค่า  “ค้ำจุนโลก”  ได้และมิ
ได้ทำลายสรรพชีวิตใด ๆ เลย  มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอก
งาม   ดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่สรรพสัตว์ทุกชีวิตโดยไม่
ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใด ๆ ทุกชีวิตต่างได้รับ
อากาศ  น้ำ  อาศัย บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน   เมตตาธรรมจึงนำ
พา “สันติสุข”  ต่อตนเองและชาวโลก

              ผู้คนที่ขาดเมตตาย่อมส่งร้ายต่อร่างกาย   คนที่ไร้
เมตตามักเป็นคนเจ้าโทสะ  โมโหโกรธา    ตับจะถูกกระทบ
กระเทือน   ถ้าตับเสีย   ย่อมส่งผลต่อการกรองของเสียออก
จากร่างกาย   ผู้ที่บำเพ็ญเมตตา   จะกำจัดโทสะได้   ย่อมมีผล
ต่อร่างกายของผู้นั้น  หน้าตาผ่องใสแย้มยิ้ม   และเพื่อรักษา   
ตับ  มิให้กระเทือนรสชาติอาหาร   จึงควรหลีกเลี่ยงรสเปรี้ยว
จัด   คือการดำรงกาย   ด้วยวิถีทางสายกลาง  เมื่อทั้ง  กาย  
และจิต  อยู่ในเมตตาธรรม   จึงมีพลานุภาพต่อสรรพชีวิตดั่งนี้


ไม่ฆ่า  ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต   เพราะเรามีเมตตาธรรม   
คืนสู่ธาตุไม้  คงความเป็นไม้ที่ให้ความร่มรื่น

2.  มโนธรรม
มโนธรรม อี้    義                

ทำความเข้าใจ   ความหมายของคำว่า       มโนธรรม
                                          มโน        คือ      ใจ
ธรรม      คือ  สภาพที่ทรงไว้    ธรรมดา   ธรรมชาติ   
ความดี   ความถูกต้อง

มโนกรรม     คือการกระทำทางใจทางชั่ว  มี  โลภ   โกรธ   
หลง  ซึ่งเกิดจาก

มโนทุจริต     คือ   ความประพฤติชั่วทางใจ   มี
1.   อภิชฌา        ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
2.   พยาบาท       ความขัดเคืองคิดร้าย
3.   มิจฉาทิฏฐิ     ความเห็นผิดจากคลองธรรม

               ความประพฤติชั่วทางใจเหล่านี้จึงต้องแก้ไข
ด้วย     มโนธรรม    ความประพฤติ     ชอบด้วยใจ    อันเป็น
ทางสายกลางที่ศาสดาทั้งสาม   มีพระพุทธเจ้า  เหลาจื้อ     
และขงจื้อ    มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ต่างภาษาเท่านั้น
เองว่า

ท่านเหลาจื้อ               ให้บำเพ็ญธาตุทอง   จิน   金
ท่านขงจื้อ                  ให้บำเพ็ญมโนธรรมสำนึก  อี้
พระพุทธเจ้า                ทรงให้เจริญศีล   อทินนาทานา    
ซึ่งหมายถึงการไม่เอาของผู้อื่น

มโนธรรมสำนึกตรงต่ออวัยวะภายในตัวเรา   คือ  ปอด

             ความหมายแห่งคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม  แม้
แตกต่างกันด้วยภาษาแต่ความเป็นจริงแห่งวิถีปฏิบัติแล้วเป็น
เช่นเดียวกัน

            การบำรุงเลี้ยงรักษาธาตุทอง  ในตนเองย่อมทำให้
สามารถผนึกลมปราณ ให้เป็นเอกภาพ    และการควบคุมลม
ปราณจำเป็นอยู่เองที่ต้องอาศัย  ปอด   ที่แข็งแรง

            ธาตุทองมีความหมายเป็นความแข็งแกร่ง และพลานุ
ภาพ    สามารถตอบแทนต่อสรรพสิ่งที่เป็นคุณแก่ตนเองได้

            การไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของเราย่อมต้องอาศัย
มโนธรรมสำนึกรู้ถึงความเดือดร้อนที่ผู้อื่นได้รับหากตนเองเห็น
แก่ตัวหยิบฉวยของคนอื่นมาเป็นของตน   เป็นการขจัดความ
เห็นแก่ตัวโดยแท้จริง  จึงเป็นผู้เสียสละเพื่อคนอื่นได้   ตงกับ
หัวข้อของการให้ทาน   ซึ่งเป็นธรรมในการกำจัดกิเลสตัว   
โลภ   นั่นเอง

            ศีลข้อที่สอง   อทินนาทานา   ที่พระพุทธองค์ทรง
เตือนให้สาธุชนทั้งหลายระลึกถึงคุณงามความดีของตนเอง
นั้น  มิได้มีความหมายคับแคบอยู่แต่การที่   ลักขโมย   เท่า
นั้น  แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเก็บของผู้อื่นได้  ยังต้องคืนเจ้า
ของ

            มโนธรรมสำนึกนั้นมีความรู้สึกอยากตอบแทนต่อผู้มี
พระคุณ  ดังนั้นการที่มนุษย์รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่และผู้มีพระ
คุณ   ก็เพราะอานุภาพแห่งมโนธรรมสำนึกนี่เอง   ท่านศาสดา
ขงจื้อจึงสอนให้รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นอันดับแรก  หากใครก็
ตามที่ขาดความกตัญญูก็เท่ากับผิดต่อสัจจธรรมของฟ้าดิน   
และโทษที่เขาได้รับนั้นย่อมไปเกิดเป็นสุนัข  เพื่อให้บำเพ็ญ
กตัญญูรู้คุณ  ในโลกนี้  สุนัข  จึงเป็นสัตว์โลกที่รู้จักตอบแทน
คุณเจ้าของ 

          เมื่อมนุษย์รู้จักกตัญญู  ความเห็นผิดชอบชั่วดีย่อมตาม
มา  รู้จักละความเห็นแก่ตัว   จึงรู้จักที่จะให้อภัยผู้คนที่มาทำให้
แค้นเคืองขัด   เป็นที่มาแห่งการละกิเลสตัว   โกรธ   เพราะรู้จัก
ละ   โกรธ    ได้ด้วยความรู้ผิดชอบชั่วดี  ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็เพราะ
ผู้คนนั้นมีสติ  การมีสติ  เป็นที่มาแห่งปัญญา  จึงเป็นการกำจัด
กิเลสตัว  หลง  ได้อย่างสิ้นเชิงฉะนี้แล

          การบำเพ็ญ  มโนธรรม  ที่เป็นทางสายกลางจึงเป็นทาง
แห่งมรรคผลนิพพาน

          การบำเพ็ญ  มโนธรรม เกี่ยวพันกับกาย  สังขาร  คือ  
ปอด

          ความคิดฟุ้งซ่าน  ย่อมทำให้ปอดใช้พลังงานมาก  และ
เสียหายได้

          พืชที่เป็นใบยาสูบ   เป็นพิษต่อปอด

          คนที่สูบบุหรี่จึงคิดมาก   ทำลายอานุภาพของปอด  
และในที่สุดก็เจ็บป่วยสิ้นพลัง    รสชาติของอาหารที่เป็น
อันตรายต่อปอด   คือรสเผ็ด

ถ้าพิจารณาจากวงจรของธรรมชาติจะเห็น  มโนธรรมได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น

         ดวงอาทิตย์แผดเผาน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ  จับตัวกัน
หนาแน่นจึงกลายเป็นเมฆ  ครั้นเมฆลอยต่ำกระทบความเย็นก็
กลั่นตัวเป็น    น้ำฝน

         น้ำฝนตกลงมาสู่แผ่นดินเกิดความชุ่มชื้น   พืชพันธุ์
ธัญญาหารเจริญงอกงาม  ทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์  จน
ระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นไป

         ต่างตอบแทนอาศัยซึ่งกันและกันจึงเป็นวงจรธรรมชาติที่
งดงาม

         มนุษย์ไม่ลักทรัพย์  ไม่ขโมย  ถือเอาเป็นของตน  ละ
โลภ  จึงรู้ให้ทาน  รักษาศีล

         รู้ให้ทาน  รู้จักตอบแทนบุญคุณ  มีกตัญญู  รู้อภัย   จึง
ละโกรธ

        เพราะละโกรธ  จิตแจ่มใส  มีสติ  ใจเบิกบาน  ไม่มัว
เมา  หลง  จึงมีปัญญา


ห้ามลักทรัพย์   มีมโนธรรม      
รักษาธาตุแห่งทอง  ที่ไม่เปลี่ยนแปลง

3.  จริยธรรม
จริยธรรม  หลี่   禮             

           ทำความเข้าใจ    ความหมายของคำว่า จริยธรรม
คือ  การแสดงความเคารพ  มรรยาท  ความสุภาพ   ความ
ปรพฤติปฏิบัติที่ดีต่อจึงสอนให้มนุษย์ทุกคนต้องมี    จริยธรรม  礼    หลี่
กัน

            โดยปรกติมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่
เป็นเหล่า  ในช่วงก่อนสองพันกว่าปีมาแล้ว   ปราชญ์ขงจื้อ  
สอนมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  สังคมร่มเย็น  ท่าน
ขงจื้อ  

            จริยธรรมครอบคลุมความสัมพันธ์ของมนุษย์ไว้ถึง 
สามระดับ    คือ

1.    กษัตริย์กับขุนนาง
2.    บิดากับบุตร
3.    สามีกับภริยา

           การบริหารประเทศที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากมาย   ต้อง
ใช้ศิลปะเปรียบเหมือนกัน  ทอดปลาตัวน้อย  ๆ  จงอย่าพลิก
ปลาบ่อยครั้งเพราะจะทำให้เนื้อปลาหลุดลุ่ยออกได้  การบริหาร
ประเทศหากก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ประชาชนมากนัก  
ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้
          ผู้ปกครองแผ่นดินจะบริหารทั้งขุนนางและราษฎร ได้   
ย่อมต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรม  ประชาชนย่อมสงบร่มเย็น
เป็นสุข   การบริหารประเทศสมควรใช้มรรยาทนอบน้อมถ่อม
ตนเป็นสำคัญ   เหมือนดั่งมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่อยู่เบื้องต่ำ  
เป็นศูนย์รวมของธาราใหญ่น้อยมากมายที่ไหลมาบรรจบรวมกัน

          ความสัมพันธ์ในครองครัว  บิดามารดาย่อมเลี้ยงดูบุตร
หลานเป็นอย่างดี   ด้วยความเมตตาอ่อนโยนรักใคร่   ผู้เป็น
บุตรหลานจึงต้องมีสัมมาคารวะ  เคารพบิดามารดา   เชื่อฟังคำ
สั่งสอน  ว่านอนสอนง่าย  ไม่ดื้อดึง   ครอบครัวจึงเกิดสุข

          ความสัมพันธ์สามีกับภริยา   ถ้าจะเปรียบกับคำสอน
ของท่านเหลาจื้อ  ท่านสอนให้สำรวม  ธาตุไฟ  ในตัวตน

         โลกนี้อยู่ได้เพราะดวงอาทิตย์ให้ความร้อนความ
อบอุ่น   และต้องพอดีพอเหมาะ  จึงจะเกิดประโยชน์  ภายใน
กายของคนก็มีธาตุไฟ   หากควบคุมให้อยู่ในความพอดี  ย่อม
ทำให้พลังการขับเคลื่อนภายในเป็นเสมือนหนึ่งพลังงานมีความ
อบอุ่น   ถ้าหากควบคุมมิได้   เกิดมากเกินไปย่อมเป็นไข้   หรือ
น้อยไปย่อมหนาวสั่น   ความพอดีนั้นเป็นกลาง

          เมื่อเทียบคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว  ข้อจริยธรรม
นี้  คือ   กาเมสุมิจฉา  โดยแท้  หากไม่ควบคุมกามตัณหา  
ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนจิตใจของผู้นั้น  ใครที่ล่วง
ละเมิด  ความเป็นกลาง ของจริยธรรม  ย่อมส่งผลเสียหายไป
ถึง  หัวใจ    เพราะเป็นเสมือนหนึ่งไฟ  เผาผลาญดวงใจให้เร่า
ร้อนอยู่เสมอ

         มีตัณหา   ย่อมก่อให้เกิด  ความดีใจ   และเสียใจ
เสมอ    กามราคะ  จึงเป็นเรื่องที่กำจัดและควบคุมยากที่สุด
ด้วยเหตุปัจจัยของอายตนะ  6  มี

                            รูปงาม
                            เสียงไพเราะ
                            กลิ่นเย้ายวนใจ
                            รสถูกปาก
                            สัมผัสนุ่มนวล
                            อารมณ์อ่อนไหว

การตัดกามตัณหา  จึงมิใช่เรื่องง่าย ๆ   ที่จะกระทำแต่ก็ต้อง
ควบคุมให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ  การครองชีวิตอยู่ในสังคม
ร่วมกัน  จึงต้องสำรวมระวังมิให้ล่วงละเมิดลูกเมียคนอื่น   เพื่อ
ความสัมพันธ์ที่เป็นคุณแก่ตนเอง และผู้อื่นจึงต้องระมัดระวัง

            ผู้ที่ล่วงละเมิดในข้อจริยธรรม  จึงต้องไปเกิดเป็นสัตว์
เดรัจฉาน  คือ  ม้า  เพื่อบำเพ็ญจริยธรรม เพราะลูกม้าตัวผู้จะ
ไม่ล่วงเกินแม่ของมันเป็นอันขาด   ชนชาติตะวันตกได้ทดลอง
เอาลูกม้าตัวผู้    ผูกตาแล้วให้อยู่กับแม่ของมันในฤดูผสม
พันธ์  เมื่อลูกม้าขึ้นขี่แม่  เขาก็เปิดตาออก  พอลูกม้าเห็นเป็น
แม่  จึงลงจากหลัง  วิ่งเอาหัวชนกำแพงตายทันที

            รสชาติของอาหารที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ  คือรสขม  
พืชผักที่ทำลายการทำงานของหัวใจหากบริโภคมากเกินไป  
คือกระเทียม  เพราะกระทบกระเทือนธาตุไฟในกาย  และกระตุ้น
ต่อมเพศทำงานมากเกินปรกติ

            การบำเพ็ญจริยธรรมจึงประกอบด้วยมารยาท   อ่อน
น้อมถ่อมตน  มีสัมมาคารวะ  มนุษย์ทุกคนมีความเคารพไม่
ล่วงละเมิดต่อกัน   จึงสามารถรักษาจิตของตนให้อยู่ในทาง
สายกลางได้   สังคมย่อมเป็นสุข


ห้ามผิดกาเม    จะมีจริยธรรม    
ไม่ละเมิด    ดั่งไฟไม่รุกรานเผาไหม้

4.  ปัญญาธรรม
ปัญญาธรรม                  

      ความหมายของคำว่า   ปัญญาธรรม  = ความรู้ทั่วไป  .  
ปรีชา      หยั่งรู้เหตุผล    ความรู้เข้าใจชัดเจน    ความรู้เข้าใจ
หยั่งแยกในเหตุผล   ดีชั่ว   คุณโทษ  ประโยชน์  มิใช่
ประโยชน์  เป็นต้น   และรู้ที่จะจัดแจง   จัดสรร   จัดการ   
ความรอบรู้ในกองสังขารมองตามความเป็นจริง

      มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยปัญญาที่เลิศล้ำอยู่แล้ว ไม่มี
ใครโง่  ฉลาดกว่าใคร  ดังคำพระวัจนะที่ว่า   ธรรมญาณเท่ากัน
ไม่มีใครมากน้อย  น้อยกว่าใคร  ฉะนั้นย่อมไม่มีใครปัญญา
มากกว่าใคร  ดังที่พระสังฆปรินายกที่หกว่า  “โพธิปัญญา”  
นั้น  ทุก ๆ คนมีเหมือนกัน  ความหลงต่างหากที่ทำให้แตกต่าง
กันและไม่รู้  จึงจำต้องสร้างเสริมความดีให้มาก   จึงจะเกิด
ปัญญา  พึงรู้ไว้ว่า  คนโง่   คนฉลาด  นั้นมีพุทธญาณไม่ต่าง
กันเลย     ต่างกันที่หลงและตื่นเท่านั้น   ที่ทำให้เกิดโง่
ฉลาด     อานุภาพแห่งปัญญาจึงแตกต่างกันไป   ถ้าเปรียบไป
แล้วเหมือนกับ   น้ำ   บางคนใช้ประโยชน์ได้มากกว่า   แต่บาง
คนกลับใช้ได้น้อย   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและมีความรู้เกี่ยว
กับน้ำ

        ปัญญาก็เช่นกัน  บริสุทธิ์ปราศจากอารมณ์ทั้งปวง  มิได้
ทำให้ธรรมญาณหันเหไปสู่หกทางแห่ง  ดี   หรือ   ชั่ว   มี
สภาวะแห่งความเป็นกลาง   จึงทรงอานุภาพ  สามารถตัดทุกข์
ทั้งปวงได้     ด้วยเหตุนี้  พระพุทธองค์จึงทรงให้สมาทานศีล
ข้อห้า     มิให้จิตมัวเมาตกอยู่ภายใต้อำนาจของน้ำเมาทั้ง
ปวง   คนที่ถูกอำนาจน้ำเมา   ยาเสพติดครอบงำย่อมขาดสติ
สัมปชัญญะ   ทำให้คิดผิด   ทำผิดและหลงผิดได้โดยง่าย

        มนุษย์นั้นถูกอารมณ์ฉันทะบดบัง   ทำให้มืด   หลง  
อารมณ์  จึงเป็นทะเลทุกข์ของคนทุกชั้นวรรณะ   ความรู้  
และ  ปัญญา  จึงแบ่งแยกได้ตรงนี้   มนุษย์ที่มีความต่างในบุญ
วาสนา  บ้างเกิดมาดี   บ้างเกิดมาลำบากยากเข็ญ   แต่เมื่อมี
อารมณ์เข้าครอบงำก็สามารถกระทำผิดได้ทันทีเท่าเทียมปัน

        ท่านศาสดาเหลาจื้อ   จึงสอนให้บำเพ็ญ   ธาตุน้ำ     
ธาตุน้ำมีแต่ความเยือกเย็นสงบ   ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ   ชะ
ล้างทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ถือตัว   และเข้าสู่ภาชนะใด ก็จะอยู่
ในรูปลักษณ์ของภาชนะนั้น  ๆ

        ธาตุน้ำอวัยวะภายในของคนอยู่ที่ตำแหน่ง    ไต   มี
หน้าที่ขับของเสียในเลือด  พืชที่เป็นอันตรายต่อไตเมื่อบริโภค
มาก คือ   หัวหอม   ส่วนสีของพืชที่เป็นคุณกับ ไต  คือสีดำ    
เช่น ถั่วดำ  เป็นต้น  รสชาติที่เป็นอันตรายต่อไต   คือ  รสเค็ม

        ท่านขงจื้อ  ให้บำเพ็ญ   ปัญญาธรรม  กล่าวว่า  
                            “รักเรียนจึงได้ปัญญา”     

       อักษรจีนคำว่าปัญญา  智  อ่านว่า     จื้อ      ประกอบ
ด้วยอักษณสามตัวคือ

      天         เทียน          หมายถึง    ฟ้า   หรือสวรรค์
      口         โข่ว            หมายถึง    ปาก
      日          ยื่อ            หมายถึง    ดวงอาทิตย์หรือแสง
                                                  สว่าง

ถ้านำอักษรทั้งสามมาแปลรวมกันความหมายแห่งปัญญา     
ปัญญาเปรียบประดุจแสงสว่าง     ส่องให้พ้นจากความมืด   
(  คือความหลง)     มีอานุภาพดุจดังฟ้า  คือมีอานุภาพ
มาก     สามารถพาตัวไปถึงสวรรค์ได้  การแสดงปัญญาทาง
หนึ่งเป็นการใช้วาจา    (ปาก)   นั่นเอง

         การบำเพ็ญปัญญา   คือ  การรู้จักควบคุมอารมณ์รู้จัก
แยกแยะเหตุผล   จึงมีสติ    คำโบราณกล่าวไว้ว่า   “คนที่เร่ง
รีบขาดสติ  น้ำที่ไหลเชี่ยวย่อมไม่มีปลา”   หรือ  “เมื่อเรียนต้อง
เงียบ   เมื่ออยากได้วิชาจำต้องเรียน   ไม่เรียนย่อมไม่ได้วิชา  
ไม่เงียบย่อมไม่รู้เรื่อง”    ดังนั้น  ความเงียบก่อเกิดปัญญา  ใช้
วาจาในที่ควร

        เมื่อคนเราเกิดมาจากท้องแม่   ไร้เดียงสาบริสุทธิ์  เราไม่
รู้อะไรเลย  ต่อมาเมื่อผ่านการอบรมสั่งสอน  จึงมีความรู้ขึ้น   
และความรู้ที่ว่านี้เป็นความรู้ที่เกิดมาหลังกำเนิด  ต้องผ่านการ
ฝึกฝน  ปฏิบัติ  จึง รู้และเข้าใจ    ปัญญาก็ก่อเกิด  มีสติ  รู้เหตุรู้
ผลรู้ดีรู้ชั่ว   ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์   รู้ระงับอารมณ์ฉันทะ
ต่าง ๆ ได้  ผู้ที่ปล่อยจิตปล่อยใจให้อารมณ์ครอบงำจนสูญสิ้น
ปัญญาอยู่บ่อย ๆ  ย่อมสร้างภพชาติของสัตว์เดรัจฉานให้ตน
เอง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งติดอายตนะรูป   ธรรมญาณออกทาง
ตา    ย่อมไปเกิดเป็นสัตว์ปีก  คือ   นก  ซึ่งมีปัญญารู้จักสร้าง
รังของตนเองอย่างสวยงาม  แต่ถ้าเคยชินด้วยยาเสพติด  
เพราะติดกลิ่น   ธรรมญาณออกทางจมูก     และไปเกิดเป็นมด
ปลวก    แมงมุม  สัตว์เหล่านี้ มีปัญญาในการรู้จักสะสมอาหาร
ดักจับสัตว์อื่น

        การบำเพ็ญทางปัญญาธรรม  ให้  กาย  และ  จิต   อยู่ใน
ทางสายกลางเป็นการปฏิบัติตรงสัจธรรมแห่งฟ้าดิน   ให้มี
ปัญญาทั้งทางโลก และทางธรรม  ทางโลก ก็สามารถมีความ
สุขได้ในทุกสภาวะ  ทางธรรมก็สามารถพาตนเองพ้นจากทะเล
ทุกข์แห่งวัฏสงสาร  ความรู้ที่กว้างขวาง  ย่อมมาจากการเรียน
รู้  ปฏิบัติ   ฝึกฝน   และเข้าใจ   และมีความขยันหมั่นเพียร   
ไม่ว่าจะเกิดมาโง่ หรือ ฉลาด   ขอเพียงมีความอดทนหมั่น
เพียร  ที่สุดย่อมถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกัน


ห้ามดื่มสุรา  สามารถอนุรักษ์ปัญญา  
คงธาตุน้ำที่ใสสะอาด  ใช้เหตุและผล  ดังน้ำที่ไหลซอกไปทั่ว

5.  สัตยธรรม
สัตยธรรม                                

ความหมายของคำว่า    สัตยธรรม

      สัตยธรรม  คือการทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์    ซื่อตรง   
ความจริง    จริงใจ   พูดจริงทำจริง   ซึ่ง  หมายถึงสัจจะนั่น
เอง

      ในเมื่อสังคมมนุษย์เป็นการอยู่รวมกันอย่างเป็นหมู่เป็น
เหล่า   การที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข   ไม่ว่าจะเป็นครอบ
ครัวเดียวกัน   หรือสังคมส่วนรวม  ความซื่อสัตย์จึงมีบทบาท
สำคัญมาก

       ท่านเหลาจื้อ    จึงให้บำเพ็ญธาตุดิน  土 เพราะแผ่นดินมี
ความหนักแน่นไม่แปรผัน   ไม่ว่าสรรพสัตว์ที่อาศัยอยู่บนแผ่น
ดินจะเป็นเช่นไร   ไม่ว่าสิ่งร้อนหนาวเย็น  สะอาดสกปรกจะรด
ราดอย่างไร   ก็สามารถรองรับให้สรรพสัตว์พึ่งพิงอาศัย

       ความซื่อสัตย์ของฟ้าดิน  จะเห็นได้ว่า  การหมุนเวียน
เปลี่ยนผันตามฤดูกาลของธรรมชาติ  ถ้าหมุนเวียนถูกต้องตาม
กาลเวลา   สรรพสิ่งก็หมุนเวียนถูกต้อง    ความสันติสุขก็เกิด
ขึ้น    ดวงดาวทั้งปวงต่างหมุนถูกต้อง   ก็ไม่เกิดเหตุวิปริต   
เพราะฉะนั้นความเป็นสัตยธรรมของฟ้าดิน   คือ   การกระทำที่
ตรงต่อสัจธรรมและสม่ำเสมอ  หากเกิดอาการผิดปรกติแม้เพียง
เล็กน้อย   ภัยพิบัติย่อมบังเกิดขึ้น

       มนุษย์ก็เฉกเช่นกัน   ถ้าผิดต่อสัตยธรรมของตนเอง
แล้ว   ภัยพิบัติย่อมบังเกิดขึ้นต่อตนเอง   ท่านขงจื้อจึงสอนให้
บำเพ็ญสัตยธรรม   เพื่อสันติสุขของสังคม

      สัตยธรรม   เขียนเป็นภาษาจีนว่า 信          อ่านว่า    
ซิ่น   อันมีความหมายว่า   คำพูด กับ คน

    人  =    คน    ที่เขียนด้วยอักษรเช่นนี้ย่อมมีความ
หมายว่า   เป็นผู้ที่ตรงต่อ ฟ้า ดิน

            言  =     คำพูด  มีความหมายว่า  ก่อนจะพูดถ้าได้
ไตร่ตรองก่อนถึงสามครั้งย่อมไม่ผิดพลาด

       การบำเพ็ญสัตยธรรม  มนุษย์ทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์ 
ต่อตนเอง  และต่อผู้อื่น   การปฏิบัติต่อสามี-ภรรยา   ต้องมี
ความจริงใจต่อกัน   การปฏิบัติต่อเพื่อนฝูงต้องมีมโนธรรมและ
ความซื่อสัตย์    และการปฏิบัติต่อศัตรูต้องรู้จักการให้อภัย   
สังคมนั้นย่อมมีแต่   ความร่มเย็นเป็นสุข

       พระพุทธองค์ จึงสอนให้เจริญศีล   มุสาวาทาเวรมณี
สิกขาปะทังสมาทิยามิ   คือการไม่พูดปด   พูดเท็จ   ให้พูดจริง
ทำจริง   ให้มีสัจจะความซื่อตรงต่อกัน

       การบำเพ็ญสัตยธรรมย่อมต้องระมัดระวังต่ออารมณ์ของ  
ตัณหา   หากปล่อยให้อารมณ์เช่นนี้ครอบงำจิตใจแล้ว   ย่อม
ทำลาย  “ม้าม”   ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือด

      รสชาติของอาหาร คือ   รสหวาน   อาหารที่เป็นพิษต่อ
ร่างกายคือ   กระเทียมโทนจีน  เพราะเป็นอาหารปลุกตัณหา
ราคะ   ผู้ที่มีตัณหาราคะมากย่อมอายุสั้น

      สีอาหารที่เป็นคุณ   คือสีเหลือง   ให้บำรุงธาตุดิน
คนที่ปฏิบัติผิดต่อสัตยธรรมเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว   ย่อมไปเกิดเป็น
สัตว์เดรัจฉานเพื่อ บำเพ็ญสัตยธรรม   จึงได้กายกำเนิด
เป็น  “ไก่”   ทำหน้าที่บอกกาลเวลาแก่มนุษย์โดยไม่ผิดพลาด

      การบำเพ็ญสัตยธรรมมิใช่ของง่าย   แต่ใครสามารถปฏิบัติ
ได้ตรงต่อฟ้าดินแล้ว   ย่อมอยู่ในหนทางแห่งความเป็นกลาง
โดยแท้จริง  สมัยที่แผ่นดินจีนแบ่งแยก เป็น สามก๊ก     
ท่านกวนอู  ขุนพลผู้เก่งกล้า  สาบานเป็นพี่น้องกับ เล่าปี่  
และ  เตียวหุย ในสวนท้อ  ทั้งสามรักษาคำมั่นสัญญาว่า  “แม้
เกิดคนละวัน  แต่ขอตายร่วมวันเดียวกัน”  คำมั่นสัญญานี้ลือ
เลื่องมาตราบจนทุกวันนี้   และท่านกวนอูนั้นเป็นผู้ซื่อสัตย์
นัก   แม้โจโฉจับไปพร้อมกับฮูหยินของท่านเล่าปี่   ก็มิได้ล่วง
เกิน   จุดเทียนอ่านหนังสือตลอดคืน  เพื่อพิทักษ์พี่สะใภ้

       ความซื่อสัตย์อันยิ่งใหญ่เทียมฟ้าเทียมดิน   ชื่อเสียงจึง
ขจรขจายมาจนทุกวันนี้   ชาวจีนเคารพกราบไหว้เป็นเทพเจ้า
แห่งความซื่อสัตย์

       ท่านขงจื้อจึงให้คำสอนที่น่าประทับใจไว้ว่า

           “จงอภัยให้ผู้อื่น    เช่นเดียวกับอภัยให้ตนเอง”

            “จงลงโทษตนเองเยี่ยงเดียวกับลงโทษผู้อื่น”

ถ้าใครสามารถปฏิบัติได้  จิตใจย่อมซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
อย่างสม่ำเสมอ  และปฏิบัติสัตยธรรมตรงต่อฟ้าดินได้อย่างแน่
นอน

        เสียชีพอย่าเสียสัตย์    เสียสัตย์ย่อมอายไปชั่วฟ้าจรด
แดนดิน


ห้ามพูดปด   จะมีสัจจะ   คนเชื่อถือ   
ดังสัจจะแห่งดิน  ให้กำเนิดสรรพสิ่ง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 
อย่างยั่งยืน