ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์
ความงดงามของธรรมชาติ
ธรรมคือแรงใจ
96 ธรรมคือแรงใจ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
ทำไมเราจึง  ไม่ควรกินเนื้อสัตว์  ?
      เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อยึดเอาประโยชน์ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม...การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นทางก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลมาก โดยลงทุนทางวัตถุน้อยที่สุดแต่ให้ผลมากทางใจ


ข้อที่ ๑ เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น


          เพราะพวกพืชผัก เป็นของหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ... ซึ่งมีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น... นักกินผักย่อมไม่มีเวลาไปกระวนกระวายเพราะอาหารไม่ค่อยจะถูกปากถูกลิ้นนักเลย... ในขณะที่นักกินเนื้อมักต้องเลียบๆ เคียงๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งภัตตาหารเนื้อบ่อยๆ... ญาติโยมเสียไม่ได้ในท่าทีก็พยายามหามาถวายศรัทธา....

           ญาติโยมที่มีใจเป็นกลาง เคยปรารภกับข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า ...เขาสามารถจะเลี้ยงพระได้ถึง ๕๐ รูป โดยไม่รู้สึกลำบากอะไรเลย... หากเป็นอาหารที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อกับปลา....   แต่ที่ผ่านมาต้องฝืนใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อย่างมากๆ ไม่ใช่ว่าจะคิดว่า เนื้อมีราคาแพงกว่าผัก...แต่เป็นเพราะรู้ว่า...สัตว์ถูกฆ่าตาย... เพื่อการทำบุญเลี้ยงพระของเรามีอีกหลายคน  ทีแรกค้านว่าการทำอาหารมังสวิรัติวุ่นวายลำบาก แต่เมื่อได้ทดลองทำไป ๒-๓ ครั้ง... กลับสารภาพว่าเป็นการง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องไปติดไฟเลยก็มี ...

            ตัณหาของนักกินผักกับกินเนื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร.... จะกล่าวในข้อหลังเฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า ...

"คนกินเนื้อสัตว์ เพราะแพ้รสตัณหา
กินเพราะตัณหา ไม่ใช่เพราะเลี้ยงง่าย"

ข้อที่ ๒. เป็นการฝึกในส่วน "สัจธรรม"


         คนเราห่างไกลจากความพ้นทุกข์ก็เพราะมีนิสัยเหลวไหลต่อตัวเอง... สัจจะในการกินผักนั้นเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลินบริสุทธิ์... ได้ผลสูงเกินกว่าที่คนไม่เคยทดลองจะคาดถึง ...พืชผักเป็นอาหารที่จะหล่อเลี้ยง "ดวงธรรมแห่งสัจจะ" ในใจของเราให้สมบูรณ์แข็งแรง

          ดังนั้น การฝึกกินผัก อาหารพืชผักจึงเป็นแบบฝึกหัดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม... ที่ยอดเยี่ยมกว่าแบบฝึกหัดอย่างอื่นๆ เพราะแบบฝึกหัดบางอย่างค่อนข้างง่าย แต่บางอย่างก็ยากเกินจะฝึกทำให้ไม่สามารถนำมาเป็นเกมฝึกหัดประจำทุกๆ วัน แต่เราผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกทุกวันจึงจะได้ผลเร็ว เหตุฉะนี้ การฝึกใจด้วยเรื่องอาหารอันเป็นสิ่งที่เราต้องบริโภคอยู่ทุกวันจึง เหมาะมาก อย่าลืมพระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า ...
          "สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์"

โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ข้อที่ ๓.เป็นการฝึกในส่วน"ทมะ"ธรรม


           "ทมะ" คือ การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ คนเราเป็นทุกข์เพราะตัณหา อันได้แก่ ความอยากที่ข่มใจไว้ไม่อยู่ มีข้อพิสูจน์เฉพาะเรื่องผักกับเนื้อง่ายๆ เช่นข้าพเจ้าเคยเห็นชาวบ้านที่มาจากป่าดอนสูงๆ อุตสาห์หาบเอาพวกพืชผักลงมาแลกปลาแห้งๆ จากชาวบ้านแถบริมทะเลขึ้นไปกินทั้งๆ ที่ต้องเสียเวลาเป็นวันๆ ในขณะที่กลางบ้านของเขาก็มีอาหารพวกพืชผัก เผือก มัน ฟัก มะพร้าวฯลฯ อย่างอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังเป็นของสด สามารถบำรุงร่างกายได้มากกว่าปลาแห้งๆ และขึ้นราที่พวกเขาสู้อุตส่าห์ลงมาหามหิ้วขึ้นไปเก็บไว้กินเป็น ไหนๆดังนั้น… ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหาจักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม...
             เหตุนี้การข่มจิตด้วยเรื่องอาหารการกินจึงเหมาะมาก เพราะจะมีการข่มได้ทุกวัน การข่มจิตอยู่เสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์ เช่นกัน....


           โปรดทราบ! ว่า...มันเป็นการยากยิ่งที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหา โดยพยายามเลือกกินแต่ผักจากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อ... และผักปนกันมาจงยึดเอาเกมกีฬาฝึกข่มจิต... ที่เป็นเครื่องชนะตนอันนี้เถิด...
         การเลี้ยงพระในงานต่างๆ... ข้าพเจ้าเคยเห็นเคยได้ยินเสียงเอ็ดตะโรเรียกเอาแต่อาหารเนื้อสัตว์...ส่วนอาหารผักล้วนดูเหมือนว่าเป็นการยากที่จะถูกเลือกกับเขา... มิหนำซ้ำยังเหลือกลับไปอีก.... แม้กระทั่งอาหารที่ปรุงระคนกันมาก็หายไปแต่ชิ้นเนื้อ...คงเหลือแต่ผักติดจานกลับไป...

        และยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ...ควรรู้ไว้ด้วยว่าบรรดาพ่อครัวแม่ครัวและเจ้าภาพเขารู้ตัวก่อนด้วยซ้ำไป จึงปรุงอาหารเนื้อสัตว์ เอาไว้ให้มากกว่าอาหารผักหลายเท่านัก ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาทั้งของฝ่ายแขกเหรื่อชาวบ้าน และฝ่ายบรรพชิตทั้งหลายร่วมมือกัน "แบ่งอิทธิพล"












ข้อที่ ๔. เป็นการฝึกในส่วน "สันโดษ"


         สันโดษ คือ ความพอใจเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ตามฐานะของตน โดยทั่วไปชีวิตของผู้ออกบวชย่อมดำรงอยู่ด้วยอาหารชั้นเลว ทว่า ข้าพเจ้าเคยเห็นบรรพชิตบางรูป เว้นไม่ยอมรับอาหารจากคนจนเพราะเห็นว่าเลวเกินไป คือเป็นเพียงผักหรือผลไม้ชั้นต่ำ และถึงแม้จะรับมาก็เพื่อทิ้ง นี่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ไม่เคยมีความสันโดษหรือถ่อมตนดังนั้น… การฝึกเป็นนักกินผัก กินอาหารอย่างง่ายๆ จะแก้ได้หมด... "สันโดษเป็นทรัพย์อย่างเอกของบรรพชิต"













ข้อที่ ๕. เป็นการฝึกในส่วน "จาคะ"


         จาคะ คือ การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ หรือ ความพ้นทุกข์ ...นักกินผัก ที่แท้จริงมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส เกินกว่าที่จะมีใจนึกอยากในเรื่องจะบริโภคอาหารที่มีรสหลากหลาย... เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่ากินเพื่ออย่าให้ตาย ซึ่งต่างไปจากเนื้อสัตว์ที่ยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ...

           ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิต...ความหลงใหลในรส ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ... เรื่องเหล่านี้ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ...ไม่มีดวงจิตของนักกินผักเลย.... ส่วนนักกินเนื้อนั้น ท่านจะทราบของท่านได้เองเป็นปัจจัตตัง เช่นเดียวกับธรรมะอย่างอื่นๆ













ข้อที่ ๖. เป็นการฝึกในส่วน "ปัญญา"


          ปัญญา คือ ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก การใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของการยึดมั่น... และให้ใจละวางความยึดมั่นในการกินอาหาร แบบฝึกหัดที่ยากและเป็นก้าวที่ใหญ่ของการปฏิบัติธรรมเช่นนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกบริโภคอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่าน ต้องใช้พิจารณาตัวเองอยู่เสมอทุกมื้อเพราะเนื้อทำ ให้หลงในรส ส่วนผักทำให้ยกใจขึ้นไป ซึ่งเหมาะแก่สันดานของสัตว์ผู้มีกิเลสย้อมใจจนจับแน่นเป็นน้ำฝาดมาแต่เดิม ปัญญาของท่านต้องรู้อยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นแต่การกินผักจะช่วยขัดเกลากิเลสทุกๆ วัน...


            แท้จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้มีความเห็นว่าฝ่ายที่จะช่วยขัดเกลาจิตใจต้องเป็นผัก... ความจริงอาจจะถือว่า ผักเป็นอาหารชั้นเลวหรือไม่ประณีตก็พอแล้ว... แต่เมื่อมาพิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วมันมาตรงกับอาหารผัก เพราะจะทำอย่างไร เนื้อก็เป็นของชวนกินเพียงแต่ต้มเฉย ๆ พอได้กลิ่นมันก็ยั่วตัณหาอยู่ดี !...
           เพราะฉะนั้น ฝ่ายที่จะปราบตัณหา จึงกลายเป็นเกียรติยศของผักไป อาหารผักเป็นอาหารที่ข่มตัณหาได้ และมีแต่ความบริสุทธิ์จึงเหมาะสม สำหรับผู้ที่ระแวงภัย และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ...


          ผลดีในฝ่ายโลก... อาหารผักมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายยิ่งกว่าเนื้อสัตว์ หรือไม่ ?... เรื่องนี้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ก็บอกแก่เราชัดแจ้งอยู่แล้วว่า...อาหารผัก จะทำให้ผู้บริโภคมีกำลังแข็งแรงโรคน้อย ดวงจิตสงบ ช่วยให้ความกระหาย ในความอยาก ความโกรธ ความมัวเมา บรรเทาลงเป็นอันมาก

ไม่ควรกินเนื้อสัตว์






การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกของความสงบ
อาหารผักเป็นอาหารที่ข่มตัณหาได้
มันเป็นการยากที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหา
สัตว์ถูกฆ่า เพื่อเอามาทำอาหารเลี้ยงพระ
สันโดษเป็นทรัพย์อย่างเอกของบรรพชิต
Copyright (c) 2010 All Rights Reserved.
powered by www.96rangjai.com
free hit counter
 คำอุทิศ : ขออานิสงส์แห่งบุญที่เกิดขึ้นนี้อุทิศให้กับ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ผู้มีพระคุณ ญาติสนิทมิตรสหาย เทวดาผู้ปกปักรักษาข้าพเจ้า เทวดาผู้ปกปัก รักษาบ้านเรือนของข้าพเจ้า เทวดาผู้ปกปักรักษาที่ทำงานข้าพเจ้า เทวดา นางฟ้าทุกท่านในโลกทิพย์ นาค ครุฑ กินนรา เงือก พรหม พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่    เจ้าทาง เจ้ากรรมนายเวรทั้งอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เจ้าเกณฑ์ชะตา ผีบ้าน ผีเรืือนที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ภูต ผี ปีศาจ เปรต ปอบ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ ยักษ์ ยมฑูต อสูร อสูรกาย มาร สัมภเวสีทั้งหลาย สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง และดวงจิตทุกดวงในสหัสโลกธาตุ
    ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากัน
สำนักพิมพ์เอกอนันต์บุ๊ค
Tel : 034-246644
Mobile : 085-0658236, 089-6726781
Fax : 034-246644
email : 96rangjai@gmail.com
โลโก้เอกอนันต์
    บุคคลหรือหน่วยงานใดสนใจจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่วัด  ห้องสมุด  โรงเรียน  โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์  ทัณฑสถาน ฯ หรือใช้ในโอกาสอันเป็นมงคลในชีวิตท่าน  เช่น วันเกิด   ทำบุญบ้าน  กฐิน  ผ้าป่า  วันขึ้นปีใหม่  งานเกษียณอายุราชการ  งานศพ  สร้างอุทิศส่วนกุศล  สะเดาะเคราะห์  หรือแจกจ่ายในงาน มงคล-อวมงคลต่างๆ
    อนึ่ง  ทางสำนักพิมพ์มีความยินดีในกุศลเจตนาของท่านผู้มีใจอนุเคราะห์ช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจของชาวโลกด้วยกุศโลบายอันพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ขอร่วมอนุโมทนาบุญ โดยให้ความสะดวกในด้านบริการในราคาพิเศษและจัดส่งตามรายการสั่ง  ไม่ว่าซื้อน้อย-ซื้อมาก  ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด  ทางสำนักพิมพ์ยินดีให้บริการแก่ทุกท่าน