ธรรมะคืออะไร
บำเพ็ญอยู่ในโลก พึงเก็บจิตกลับมา จี้กง
ธรรมติดจรวด
ธรรมมีอยู่แล้วในตัวเรา
ธรรมะแฝงอยู่ในทุกอณู
ธรรมคือแรงใจ
ธรรมะคืออะไร ?
道是什么
96 ธรรมคือแรงใจ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
เมื่อเจ้าทำดี “ธรรมะ” นั้นก็เป็นธรรมที่เที่ยงแท้
หากจิตใจไม่เที่ยงตรง  กายไม่เที่ยงตรง
วาจาไม่เที่ยงตรง  การกระทำไม่เที่ยงตรง
เช่นนี้ แม้ธรรมแท้ก็อาจกลายเป็นธรรมปลอมได้
พุทธะจี้กง
พระพุทธะจี้กง :
ดํารงตนอยู่ในโลกนี้  ทุกแห่งหนล้วนคือความรู้ ทุกแห่งหนล้วนมี “ธรรมะ” ต้องหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ
มิใช่มาสถานธรรมจึงจะมี “ธรรมะ”  ถึงจะสามารถ ปฏิบัติธรรมได้  ชีวิตไม่ว่าดำรงอยู่แห่งหนใดก็ล้วนปฏิบัติ ธรรมได้เช่นกัน

รู้หน้าที่ตน ก็คือ “ธรรมะ”
ปฏิบัติหน้าที่ตนให้ดี นั่นก็คือ “ธรรมะ”
สามเณร
เจ็บนอกกายไม่ใช่อุปสรรค
หลักในการดำเนินชีวิต  เมื่อถึงเวลานอนก็ต้อง นอน นี่คือ “ธรรมะ”
ไม่ใช่ถึงเวลานอนแต่ไม่นอน  ไม่ใช่เวลานอนแต่ กลับนอน  นี่ไม่ใช่ “ธรรมะ”
หลักการดำเนินชีวิต
ขณะที่เจ้าพูดจาทิ่มแทงคนอื่น  คนที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ ตัวเจ้า !
เมื่อนั้นจะยังคงพูดจาเช่นนั้นต่ออีกหรือไม่
นั่นคือการแสดงออกถึงจิตใจดีงามที่มีอยู่ และ นั่นก็คือ “ธรรมะ”
ให้อภัยคือธรรมะ
ความสูงส่งล้ำค่าแห่ง “ธรรมะ” นั้น  อยู่ที่การไม่อาจใช้ภาษาตีความได้นั่นเอง
การดำรงตนนั้นก็คือ “ธรรมะ”
ธรรมะนั้นแฝงอยู่ในทุกสรรพสิ่ง
ซ่อนเร้นอยู่ในทุกอณู
ธรรมล้ำค่า
“ธรรมะ” นั้นล้ำลึก 
แท้จริงก็อยู่ในชีวิตประจำวันของเจ้า  ไยจะต้องไป ฝึกฝนวิชาอื่นใดที่พิสดาร    พลังลึกลับหรือปาฏิหาริย์ หาใช่ธรรมะไม่ !
แต่ “ธรรมะ” เป็นสิ่งที่ธรรมดาสามัญไม่มีพิเศษ
แท้จริงก็อยู่รอบกายเจ้า  แต่อยู่ที่ตัวเจ้าจะใช้มัน  หรือไม่เท่านั้นเอง

ธรรมะในชีวิตประจำวัน
“ธรรมะ” เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวเจ้า 
“ธรรมะ” คือหลักธรรมแห่งฟ้า คือจิตที่ดีงาม
“ธรรมะ” นั้นง่ายแก่การบำเพ็ญ  หากปฏิบัติตาม
ครรลองแห่งฟ้าได้ก็จะบำเพ็ญได้ง่าย
หลักธรรมแห่งฟ้า ก็คือ
ใจพุทธะ ใจโพธิสัตว์
ใจเมตตากรุณา
ใจกว้างให้อภัย ใจจริงบริสุทธิ์
ข้างนอก
หาให้ตายก็ไม่เจอ !
ฝนตกก็กางร่ม !
อ้า ! เข้าใจแล้ว
เมื่อเราให้อภัย !
ก็คือธรรมะ
นอนดึก !

เจ็บนอกกาย
ไม่ใช่อุปสรรค !
เราทุกคนหากทำสิ่งใดควรมีจุดมุ่งหมาย 
แต่มิใช่ ใจมีแผนการเงื่อนงำ  นั้นเป็นสิ่งไม่ดี
ควรใช้จิตใจซื่อตรงจริงใจปฏิบัติต่อผู้อื่น  
ช่วยคลี่คลายปมปัญหาให้แก่ผู้อื่น
นั่นจึงจะเป็น “ธรรมะ” !

จิตเดิมแท้ของเราคือธรรมะ
หาไม่เจอ !
อยู่ในตัวเรานี่เอง !
เป็นไงล่ะ !
ซื่อสัตย์ ซื่อตรง ก็คือธรรมะ
รักษาเวลาอันมีค่าทุกขณะ
ในเวลานั้นเจ้าทำอะไรอยู่
รักษาเวลาช่วงนั้นไว้
นั่นก็คือ “ธรรมะ” เช่นเดียวกัน !
รักษาเวลาอันมีค่า
“ธรรมะ” นั้นอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่ง
“ธรรมะ” อยู่ในชีวิตประจำวัน 
ใกล้แค่ตรงหน้า ไม่มีเลยที่จะห่างมัน
เมื่อต้องการมัน มันก็จะสำแดง
ไม่ต้องการมัน มันก็แฝงเร้น
ธรรมะอยู่ในกายเรา คือพุทธจิต
ทุกข์อกทุกข์ใจอะไรมาล่ะ !
ธรรมะอยู่ในกายเราเขาเรียก "พุทธจิต" !
รีบไปสร้างบุญก่อนล่ะ !
“ธรรมะ” คือ หนึ่ง 
หนึ่ง ก็คือต้นๆ ใช่หรือไม่ว่าสำคัญมาก
เมื่อสำคัญก็ต้องก้าวเดิน 
หากไม่ก้าว ไหนเลยจะไปถึง

ยุคนี้ต้องติดจรวด !
    ...    ไม่ว่าเรื่องราวใดก็ตามต้องมีลำดับขั้นตอน
    ...    มีขั้นตอนจึงมีระเบียบวินัย 
    ...    มีระเบียบวินัยจึงมีเหตุผล
    ...    มีเหตุผลจึงมี “ธรรมะ”

มีธรรมะ คือมีขั้นตอน มีระเบียบ มีวินัย
วันนี้เรียนรู้มาเท่าไหร่ก็ควรแสดงออกมาเท่านั้น เช่นนี้จึงเรียกว่าปฏิบัติ “ธรรมะ”
สิ่งที่รู้ในวันนี้ หากรอเวลาผ่านไปแล้วค่อยกระทำ นั่นไม่เรียกว่า “ธรรมะ”
ดังนั้น เรียนรู้และขณะเดียวกันก็นำมาปฏิบัติ  จึงเรียกว่า “ธรรมะ”
อย่ามัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง
“ธรรมะ” อยู่ที่ไม่เอ่ยคำพูด
“ธรรมะ”  อยู่ที่มีสติทุกขณะ
“ธรรมะ” อยู่ที่พยักหน้า
หากเจ้ายิ้มออกมาสักครั้ง
นั่นแหละคือ “ธรรมะ”

เรื่องราวต่างๆ ล้วนมีเหตุปัจจัย
การอยู่ร่วมกัน 
ไม่ว่าเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆ ล้วนมีเหตุปัจจัย 
ขอเพียงใช้ใจเคารพและจริงใจซึ่งกัน
สิ่งเหล่านี้ล้วนคือ “ธรรมะ”

หากยิ้มออกมาสักครั้งก็คือธรรมะ
อย่าเอาแต่คอยสำรวจผู้อื่น 
“ธรรมะ” ก็คือ การสำรวจตนเอง
และย้อนมองส่องตน !
รู้จุดบกพร่องของตนเอง
รู้จุดผิดพลาดของตนเอง
นี่จึงเรียกว่า “ธรรมะ”

สำรวจตรวจตราตนเองอยู่เสมอ
ทําอย่างไรจึงจะให้ทุกคนกลับมาสู่จิตเดิม
ทำอย่างไรให้ทุกคนมีจิตยินดี  เบิกบานสำราญใจ
ไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก
“ธรรมะ” ก็อยู่ตรงนี้ 
ไม่ใช่ต้องคิดแผนการให้มากมาย
ในขณะนั้นก็คือ “ธรรมะ”

เบิกบานสำราญใจ
“ธรรมะ” มิใช่สิ่งแปลกประหลาด พิลึกกึกกือ
แต่มันใกล้ชิดกับตัวเราในชีวิตประจำวันมากที่สุดต่างหาก
อย่างเช่น ความกตัญญู  ความสามัคคี 
หลักปกครอง 3  เบญจธรรม 5  คุณธรรม 8
สิ่งเหล่านี้ล้วนคือ “ธรรมะ”
เบญจธรรม กตัญญู ปรองดอง สามัคคี
หลักปกครอง 3  คือ  เจ้านายกับลูกน้อง, พ่อกับลูก,
                            สามีกับภรรยา

เบญจธรรม 5 คือ เมตตาธรรม, จริยธรรม, มโนธรรม,
                       สัตยธรรม, ปัญญาธรรม

คุณธรรม 8 คือ กตัญญูกตเวที, พี่น้องปรองดอง,
                     จงรักภักดี, วาจาสัตย์, มโนธรรม,
                      จริยธรรม, สุจริตธรรม, เกรงกลัวต่อบาป
สองตาสำรวมญาณทวาร ก็คือ “ธรรมะ”
ทุกขณะเวลาคือ “ธรรม”
แม้บำเพ็ญอยู่ในโลกโลกีย์  ทว่าพึงเก็บจิตกลับมา
เพื่อให้ตนได้สงบสติอยู่เสมอ
อย่าได้คิดว่าการนั่งเท่านั้นจึงเข้าสู่สมาธิได้
แต่เมื่อนั่งลงไปแล้วหมื่นพันความคิดเกิดขึ้นไม่หยุด
จะกลับกลายเป็นฟุ้งซ่าน

ต้องฝึกเยี่ยงนี้เสมอว่า
ไม่ใช่ของๆ เราอย่าได้โลภ
ไม่ใช่ของๆ เรา อย่าได้เรียกร้อง
เมื่อได้ทำอย่างเต็มกำลังของเจ้าแล้ว
ได้มาเท่าไหร่ก็เท่านั้น
ภาระหน้าที่อันพึงกระทำก็ต้องไปจัดการ
และต้องรักษาวินัยเคร่งครัด
Copyright (c) 2010 All Rights Reserved.
สำนักพิมพ์เอกอนันต์บุ๊ค
Tel : 034-246644
Mobile : 085-0658236, 089-6726781
Fax : 034-246644
email : 96rangjai@gmail.com
โลโก้เอกอนันต์
    บุคคลหรือหน่วยงานใดสนใจจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่วัด  ห้องสมุด  โรงเรียน  โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์  ทัณฑสถาน ฯ หรือใช้ในโอกาสอันเป็นมงคลในชีวิตท่าน  เช่น วันเกิด   ทำบุญบ้าน  กฐิน  ผ้าป่า  วันขึ้นปีใหม่  งานเกษียณอายุราชการ  งานศพ  สร้างอุทิศส่วนกุศล  สะเดาะเคราะห์  หรือแจกจ่ายในงาน มงคล-อวมงคลต่างๆ
    อนึ่ง  ทางรสำนักพิมพ์มีความยินดีในกุศลเจตนาของท่านผู้มีใจอนุเคราะห์ช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจของชาวโลกด้วยกุศโลบายอันพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ขอร่วมอนุโมทนาบุญ โดยให้ความสะดวกในด้านบริการในราคาพิเศษและจัดส่งตามรายการสั่ง  ไม่ว่าซื้อน้อย-ซื้อมาก  ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด  ทางสำนักพิมพ์ยินดีให้บริการแก่ทุกท่าน
ขึ้นบนสุด