ยินดีต้อนรับสู่ฟอรั่ม 96 เสวนาธรรมบำเพ็ญ
กรุณา ลงทะเบียน เพื่อสามารถใช้งานฟอรั่มได้อย่างเต็มรูปแบบ !
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและใช้เวลาเพียงเล็กน้อย

"โดยพื้นฐานธรรมชาติเดิมแท้ของตัวเรา
เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และสะอาด
ถ้าเรารู้จิตของเราและเห็นถึงธรรมชาติเดิมแท้ของเรา
เราทั้งหลายก็จะบรรลุถึงความเป็นพุทธะ"

หน้า: [1]   ลงล่าง
  ตอบ  |  พิมพ์  
Share this topic on FacebookShare this topic on Twitter
ผู้เขียน หัวข้อ: สัมมาปัญญา  (อ่าน 2967 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
admin
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2011, 04:11:30 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



สัมมาปัญญา

 อรรถาธรรมโดย ดร.อนันต์ (อนัตตา)
 :lS2:หนทางแห่งสัมมาปัญหา เท่านั้นจึงได้ชื่อว่าไม่เป็นผู้หลงมัวเมาต่อความชั่วทั้งปวง เพราะสัมมาปัญญาเกิดจาก สัมมาสมาธิ ความจริงแล้ว "ปัญญา" ไม่มีสภาวะแห่ง "สัมมา" หรือ "มิจฉา" เพราะเป็นศักยภาพอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมญาณของทุกคน แต่พอสำแดงอานุภาพออกมาย่อมเป็นไปตามปัจจัยเกื้อหนุนถ้าปัจจัยเป็นไปด้วย ความชอบก็แสดงไปในทางที่ถูกต้องชอบธรรมแต่ถ้าปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม อานุภาพที่สำแดงออกมาย่อมเป็นไปในทางที่ผิด เพราะฉะนั้นในโลกนี้จึงยังมีผู้คิดผิดเห็นผิดไม่ตรงตามหลักสัจธรรม แม้ทุกคนมีภาวะแห่งปัญญามาแต่เดิมแล้วก็ตามที พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า ปัญญาทั้งหมดย่อมมาจากธรรมญาณและมีอยู่แล้วภายในมิได้มาจากวิถีแห่งภายนอก เลย เพราะฉะนั้นโดยตัวของมันเองย่อมเป็นประโยชน์ตามสภาวะอยู่แล้ว เพราะมันเป็น "ตถตา" ความเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีเป็นอย่างอื่นและไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงสภาวะแท้จริงของมันได้เลยเพราะ ฉะนั้นใครเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมญาณเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเขาก็เป็นอิสระจาก ความหลงทั้งปวงไปชั่วนิรันดร ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้ให้ทำงานเพียงนิดเดียว เช่นนั่งเงียบๆ ทำใจให้ว่างเฉยๆ เพราะเหตุที่ธรรมญาณมีรัศมีแห่งการทำงานกว้างขวางใหญ่หลวงนัก คนที่ใช้ปากพูดถึงความว่างโดยที่สภาวะแห่งจิตไม่เคยพบความว่างเลย จึงเปรียบเสมือนผู้ประกาศความเป็นใหญ่ด้วยปากแต่แท้ที่จริงเขาเป็นเพียง ปุถุชนคนธรรมดาเท่านั้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีโอกาสเป็นผู้ใช้ปัญญา ความหมายที่แท้จริง ท่านฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นว่า ปัญญาจึงมิได้อยู่ที่การใช้พูดด้วยปากคนพูดเก่งมิได้หมายความว่าเป็นผู้มี ปัญญาแท้จริงเพราะปัญญามิได้มาจากการพูดด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงพบคนที่พูด ด้วยความโง่ เขลา อวดฉลาดรอบรู้โดยที่ตนเองหารู้สิ่งใดไม่ การพูดเป็นเพียง ผลแห่งการใช้ "ปัญญา" ฉะนั้นจึงมิใช่ตัว "ปัญญา" ตามความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงเลย "ปัญญาหมายถึงความรู้แจ้งชัด เมื่อใดเราสามารถรักษาจิตไม่ให้ผูกพันด้วยตัณหาความทยานอยากที่โง่เขลาได้ ทุกกาลแล้วไซร้ การกระทำทุกอย่างจึงเป็นไปด้วยปัญญา ในบัดนั้นจึงได้ชื่อว่ากำลังอบรมปัญญาให้เจริญงอกงามออกมา แต่ความรู้สึกที่โง่เขลาเพียงแวบเดียว ก็สามารถทำให้ปัญญาหายวับไป แต่มีความคิดที่ปรีชาฉลาดย่อมสามารถดึงปัญญากลับคืนมาได้อีก ดังนั้นใครที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอวิชชาหรือความหลง ย่อมมองไม่เห็นปัญญาเพราะฉะนั้นจึงพูดถึงปัญญา ด้วยลิ้น แต่มิได้พูดด้วยใจเพราะภายในจิตยังเต็มไป ด้วยความงมงาย เช่นเดิม" ในคัมภีร์ "คุณธรรม" ของท่านเหลาจื๊อ ได้กล่าวเอาไว้ว่า "ผู้ที่เข้าใจคนอื่นชื่อว่าเป็นผู้รอบรู้ ผู้ที่เข้าใจตนเองจึงชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้ง" ผู้รอบรู้อาจรู้สิ่งทั้งปวงนอกตัวเองมากมาย แต่เขาไม่อาจรู้จักจิตของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงมิใช่ปัญญาอันแท้จริงที่จะพาตัวเองให้พ้นไปจากการเวียนว่าย ตายเกิด หรือแก้ทุกข์ได้เลย เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นผู้รอบรู้เวลาเกิดทุกข์ต่างวิ่งเข้าหาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ของต้นไม้ รูปเคารพหรือวัตถุอื่นใด กราบไหว้อ้อนวอนขออิทธิฤทธิ์มาช่วยแก้ทุกข์ของตนเอง แต่ผู้รู้แจ้งใช้ปัญญาของตนเองแก้ทุกข์ เขาเหล่านั้นจึงพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง เพราะดับทุกข์ที่ต้นเหตุเพราะทุกข์ที่จิต จึงดับเสียที่จิต ส่วนผู้รอบรู้แต่ภายนอกจึงวิ่งไปหาปลายเหตุคือพยายามดับผลเพราะฉะนั้นจึง วุ่นวายและทุกข์หนักยิ่งขึ้น แม้เอาอิทธิฤทธิ์มาดับผลแห่งทุกข์ ก็เป็นเพียงชั่วครึ่งชั่วคราวในที่สุดก็ยังคงวิ่งวนอยู่ด้วยความทุกข์นั้น ไม่สิ้นสุด คนเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้หลงงมงาย พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงคนเหล่านี้ว่า "เขาชอบพูดเสมอว่าประพฤติปัญญา และพูดถึงความขาดสูญไม่หยุดปาก แต่เขาไม่ได้พบหรือทราบถึงความว่างเด็ดขาดเลย หัวใจแห่งความรู้ชัดแจ้ง จึงถือเป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้รูปร่างไม่มีท่าทางให้สังเกตเห็น ดังนั้นถ้าเราตีความหมายของปัญญากันในทำนองนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นความรอบรู้ แจ้งชัดของปัญญาตัวจริงอย่างถูกต้อง" ท่านขงจื๊อได้กล่าวถึงปัญญาเอาไว้ในคัมภีร์ทางสายกลางว่า "ปัญญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด เมื่อได้ดำเนินกิจต่างๆ ไปตามปัญญาที่มีอยู่ในตัวเอง จึงเรียกว่า ธรรมะ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมะจึงเรียกว่าเป็น อารยธรรม ธรรมะเป็นสิ่งที่คนเราละทิ้งไปไม่ได้แม้ชั่วขณะเดียว ถ้าสิ่งใดที่ละทิ้งได้สิ่งนั้นจึงมิใช่ธรรมะ" เพราะฉะนั้น ปัญญาตามความหมายของท่านขงจื๊อจึงเป็นไปตามธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง จากปัจจัยภายนอก ปัญญาชนิดเช่นนี้ย่อมแยกแยะ "ดี" และ "ชั่ว" ได้หรือรู้ถึง "นรก" หรือ "สวรรค์" เมื่อแยกแยะได้เช่นนี้ย่อมนำพาตนเองพ้นไปจากความชั่วหรือนรก ด้วยตนเอง โดยมิต้องอาศัยสิ่งอื่นนอกตัวเองมาเป็นปัจจัยกำหนดเลย พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธภาษิตเอาไว้ว่า "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" ผู้ที่มีปัญญาตามธรรมญาณของตนเองเช่นนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น "สัมมาปัญญา" เพราะสามารถหลุดพ้นไปจากทะเลทุกข์ได้ด้วยปัญญาอันชอบนั่นเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ตอบ  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

+ ตอบด่วน
 


96 ธรรมคือแรงใจ | ปิ๊งแว๊บ ! ปััญญาแจ่มบรรเจิด | อ่านธรรม | มูลนิธิเมตตาอาทร | เสบียงบุญ | วิถีอนุตตรธรรม |

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น

1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นเวบบอร์ดโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไปและสมาชิก
ซึ่งทีมงาน 96rangjai มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
4. ทีมงาน 96rangjai ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น