ยินดีต้อนรับสู่ฟอรั่ม 96 เสวนาธรรมบำเพ็ญ
กรุณา ลงทะเบียน เพื่อสามารถใช้งานฟอรั่มได้อย่างเต็มรูปแบบ !
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและใช้เวลาเพียงเล็กน้อย

"โดยพื้นฐานธรรมชาติเดิมแท้ของตัวเรา
เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และสะอาด
ถ้าเรารู้จิตของเราและเห็นถึงธรรมชาติเดิมแท้ของเรา
เราทั้งหลายก็จะบรรลุถึงความเป็นพุทธะ"

หน้า: [1]   ลงล่าง
  ตอบ  |  พิมพ์  
Share this topic on FacebookShare this topic on Twitter
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องรับธรรม ?  (อ่าน 17897 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
admin
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 05:39:52 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


ทำไมต้องรับธรรม ?
為什麼要求道


1.   ความหมายของ “ธรรม”



 lQ1๑.   ธรรมอาศัย ๐ เป็นสัญญลักษณ์ .. ธรรมหมายถึงสัจธรรม กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ “สัจธรรมฟ้าจิตมโนธรรม” อธิบายแยกคำก็คือ “ฟ้ามีสัจธรรมของฟ้า ดินมีสัจธรรมของดิน มนุษย์มีสัจธรรมของมนุษย์  วัตถุมีสัจธรรมของวัตถุ เรื่องราวมีสัจธรรมของเรื่องราว” ธรรมนั้นเป็นวงกลม วงกลมย่อมจะมีใจกลางของวงกลม ใจกลางของวงกลมนี้ เมื่ออยู่ในตัวของมนุษย์ก็คือจิตญาณจิตมโนธรรม (ไร้รูปไร้ลักษณะ, อนัตตา) จิตญาณเมื่อรวมตัวกับร่างกายแล้วก็คือธรรม  การสรรสร้าง ๐ ก็คือธรรมทรรศนะ  ธรรมยิ่งใหญ่จนไม่มีขอบเขตภายนอก ธรรมเล็กจนไม่มีจุดภายใน กล่าวอีกนัยว่าธรรมยิ่งใหญ่หลักการเล็กแยบยลจนเรียกว่าหลักเหตุผล ฟ้าดินสรรพสิ่งสรรพเรื่องราว(รวมถึงมนุษย์) ล้วนมี “ธรรม” เป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น ในคัมภีร์ทินนิศ(อี้จิง)กล่าวว่า.. “ศูนยุตรภาวะ(อู๋จี๋)กำเนิดมหาทวาอุตรภาวะ(ไท้จิ๋) มหาทวาอุตรกำเนิดทวิลักษณ์ ทวิลักษณ์(เหลี่ยงอี้)กำเนิดเป็นจตุรลักษณ์(ซื่อเซี้ยง)  จตุรลักษณ์กำเนิดเป็นอัฐลักษณ์(ปากว้า) เมื่อครบ แปดแปดหกสิบสี่สัญญลักษณ์แล้วสรรพสิ่งในใต้หล้าก็จะเกิดการผันแปร”  เมื่อเกิดทินภาวะ(หยาง) นิศภาวะ(อิน)แล้ว กำเนิดฟ้าดินสรรพสิ่ง(มนุษย์)  ฟ้าดินมีสภาวะของ “การเกิด ตั้งอยู่ เสื่อม ดับ” มนุษย์มีสภาวะของ “การเกิด แก่ เจ็บ ตาย” สุดท้ายของสรรพสิ่งย่อมจะมีการแตกดับ ฉะนั้น จิตญาณนั้นจะต้องกลับคืนสู่ความเป็นนิรันดร์ ไม่ต้องตกอยู่ในวังวนของวัฎฎะ นี่ก็คืออริยสัจของชีวิต  



 lQ2๒.   ธรรมหมายถึงพระเจ้า.. กล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ธรรมเป็นเพียงแค่นามสมมุติอันสูงสุด ธรรมเป็นพระเจ้า(เป็นพระนามตามบทบาทหน้าที่) ส่วนพระนามที่ใช้เรียกขานตามครัวเรือนเช่น.. “พระมารดา พระบิดา พระอัลลาล์...เป็นต้น” ถ้าอธิบายแจกแจงแล้วธรรมคือ สัจธรรม ชีวิต มรรควิถี หนทาง ธรรมคือหนทาง และก็เป็นหนทางแห่งสัจธรรมที่ทุกๆคนจะต้องใช้เดิน หนทางที่เชื่อมสวรรค์ ด้วยเหตุนี้ มหาธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่เลิศล้ำอันเป็น “หลักสัจธรรมวิถีจิต” ที่อริยบุคคลถ่ายทอดมาแต่อดีตแต่ละรุ่น เป็น “แก่นแท้” ของพระพุทธเจ้าแต่ละรุ่นที่ถ่ายทอด เป็น “จิตเดิม” ของพระบรรพจารย์ที่ถ่ายทอดกันลับๆ เป็น “เอกธรรรม” หนึ่งเดียวของสิ่งศักดิสิทธิ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือบรรลุมรรคผล



 lQ3๓.   ด้านการสรรสร้าง.. ด้าน “การสรรสร้าง” “ก่อนจะกำเนิดฟ้าดิน ธรรมได้ก่อกำเนิดโครงร่างของตนก่อน เมื่อก่อกำเนิดฟฟ้าดินแล้ว ธรรมจึงจะสามารถสรรสร้างได้อย่างกว้างขวาง” อริยชนกล่าวว่า.. “ยามปล่อยออกไปคลุมไปทั่วสารทิศ ม้วนเก็บกลับมาแฝงเร้นในที่ลับ” นี่เป็นการชี้ให้เห็นถึงโครงร่างของธรรม อยู่กับฟ้าเรียกสัจธรรม อยู่กับมนุษย์เรียกจิตญาณ วันนี้รับธรรม ถือว่าเป็นการแสวงหาพระวิสุทธาจารย์ชี้นำที่อยู่ของ “จิตญาณ” ของเรา ให้เราเริ่มบำเพ็ญจากตรงนี้ ก็จะสามารมถเชื่อมโยงกับฟ้าดลจิตกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เข้าสู่โลกีย์เป็นสุชน  เข้าสู่โลกุตระเป็นพระอริยเจ้า

* m22.jpg (13.25 KB - ดาวน์โหลด 599 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2011, 06:42:00 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
admin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 05:53:23 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



2. ความหมายของธรรม(อธิบายแนวจิตญาณ)

 lS1๑. การก่อกำเนิดของฟ้าดิน.. ในปฐมกาลของฟ้าดิน เป็นกลุ่มพลังงานกลุ่มหนึ่ง เวิ้งว้างปราศจากสิ่งใด ไร้เสียงไร้กลิ่น ว่างเปล่าแลศักดิ์สิทธิ์อันสูงสุด พระบรพจารย์แห่งเต๋ากล่าวว่า.. “ไร้นามเป็นจะเริ่มของฟ้าดิน ใช้สัญญลักษณ์. ‘๐’ เมื่อมีนามแล้วถือเป็นมารดาสรรพสิ่ง ใช้สัญญลักษณ์ ‘-’ มหาธรรมไร้นาม ฝืนเรียกขานว่า “ธรรม” ธรรมยิ่งใหญ่ไร้รูป จึงฝืนสมมุติใช้รูปวงกลม๐ แทน วงกลมเป็นสัญญลักษณของการสงบนิ่ง เป็นหลักของสุญญตา ถือเป็นโครงร่างทั้งหมดของธรรม ส่วน- หนึ่งขีดใช้แทนสัญญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว จากหนึ่งเดียวแผ่เป็นสรรพสิ่ง เป็นการสรรสร้างของธรรม วงกลมเคลื่อนไหวเกิดเป็นหนึ่ง – หนึ่งขีดหดแล้วเป็น . หนึ่งจุด หนึ่งจุดยืดออกเป็น – หนึ่งขีด  ทั้ง “๐วงกลม” “-หนึ่งขีด”  ‘.จุด’ ถือเป็นสภาวะของการเคลื่อนไหวสงบนิ่งยืดหด แปรผันไม่จบสิ้น ปล่อยออกไปคลุมทั่วสารทิศ  เรียกขานว่าเป็น – หนึ่งขีด เมื่อม้วนกลับมา แฝงเร้นในที่ลับ เรียกขานว่าเป็น . หนึ่งจุด ยิ่งใหญ่จนไร้ขอบเขตภายนอก เล็กจนไม่มีช่องภายใน ไม่มีสิ่งใดที่โยงไยไปไม่ถึง ไม่มีสิ่งใดที่ไม่ครอบคลุม ปกแผ่ไปทั่วฟ้าดิน ครอบคลุมไปทั่วสรรพสิ่ง เป็นศูนยตาภาวะแยบยล เป็นเจ้าแห่งจิตญาณการบงการทั้งปวง



 lS2๒. จิตมโนธรรมจิตญาณเดิม.. อยู่กับฟ้าเรียกสัจธรรม อยู่ในตัวมนุษย์เรียกจิตญาณ สัจธรรม ถือเป็นแก่นแท้โครงร่างรวมของสรรพสิ่ง แก่นแท้ ถือเป็นหลักความจริงที่มีพร้อมมูลในสรรพสิ่ง ทุกคนมีอยู่ เพียงแต่ไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง ผู้ที่รู้ ก็จะกลายเป็นพระอริยเจ้า ผู้ที่หลง ก็จะตกเข้าสู่ประตูผี ฉะนั้น จึงกล่าวว่า.. “อ่านเจนจบพันหมื่นพระคัมภีร์ มิสู้มีพระวิสุทธาจารย์เจิมหนึ่งจุด” การเจิมจุดนี้เป็นการทะลวงเข้าถึงสุดยอดของคุณความดีทั้งปวง จิตที่สุขุมสมถะ ถือเป็นสุดยอดของเมตตาธรรม จิตที่ละอายต่อบาป เป็นสุดยอดของมโนธรรมสำนึก จิตที่รู้ผิดชอบ เป็นสุดยอดของสติปัญญา จิตที่รู้ขันติยอมคน เป็นสุดยอดของจริยธรรม

    จริยธรรม

เมตตาธรรม + มโนธรรม ภายในเมตตาธรรม มโนธรรม จริยธรรม และปัญญา มีสัจจะ ขงจื่อกล่าวว่า.. “เป็นมนุษย์ที่ไร้สัจจะแล้ว ไม่รู้ว่าเขาคนนั้นจะอยู่ได้อย่างไร ?”

    ปัญญา
เขียนแนวตั้งเป็น │ เขียนแนวนอนเป็น – สรรสร้างใช้พร้อมกันเป็นอักษร +
แนวขวาง + แนวตรง

    สัจธรรม
การสรรสร้างไม่มีสิ้นสุด ฉะนั้น เหล่าจื่อจึงกล่าวว่า.. “มหาธรรมไร้รูป ก่อเกิดฟ้าดิน มหาธรรมไร้ใจ โคจรสริยันจันทรา มหาธรรมไร้นาม หล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง ก่อนกำเนิดฟ้าดิน ธรรมได้ดำเนิดโครงร่างตน เมื่อมีฟ้าดินแล้ว ธรรมจึงสรรสร้างใช้อย่างกว้างขวาง



3. เหตุใดต้องแสวงธรรม ?


 lQ1   ๑. แก่นแท้เดิมถือเป็นต้นกำเนิดของชีวิตที่ทุกคนก็มีพร้อม.. ธรรมถือว่าเป็นแก่นแท้เดิมของมนุษย์ ถือเป็นต้นกำเนิดเดิมของชีวิต ซึ่งอยู่ในร่างกายคนเรา ทุกๆคนก็มีถึงพร้อมอยู่แล้วทำไมยังต้องมารับธรรมอีกเล่า ? มนุษย์เราถือเป็นสัตว์ประเสริฐ หากมิใช่ถือกำเนิดจากหลักธรรมอันแยบยลนี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของชีวิต  แก่นแท้แห่งธรรมนี้ ซึ่งได้ประทานให้อยู่กับตัวของมนุษย์สัตว์ประเสริฐอยู่แล้ว เหตุใดในยุคแรกคือยุคเขียว ยุคที่สองคือยุคแดง ปัจจุบันยุคที่สามคือยุคขาว ยุคสามปลายกัปป์ จึงจำเป็นต้องจุติหลักธรรมลงมา ? เป็นเพราะว่าแก่นแท้แห่งธรรมนี้ แยบยลยากจะอธิบาย แม้ว่าจะอยู่ในร่างกายคนเรา แต่การเข้าและออกของสิ่งนี้ กลับไม่มีรูปร่างลักษณะให้เห็น  การไปและมาของสิ่งนี้  ก็ไม่มีสุ่มเสียงใดๆให้ได้ยิน  ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นฟ้าดิน จิตมนุษย์ จิตสรรพสิ่ง ต่างก็ไม่รู้ว่ามีสิ่งนี้ดำรงอยู่ หากว่าไม่มีพระบัญชาแห่งพระเป็นเจ้าที่ทรงจุติหลักธรรมเป็นกรณีพิเศษ  มีพระวิสุทธาจากรับพระบัญชาลงมาถ่ายทอด “หลักจิตญาณ” เปิดจุดญาณทวารนี้ มาอธิบายถึง “ตราประทับจิตมหาธรรม” แต่โบราณกาลมาให้กระจ่างแล้ว ต่อให้คุณมีความเฉลียวฉลาดกว่าเอี๋ยนหุย มีปัญญาเลิศล้ำกว่าฟั่นเจิง ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงหลักจิตญาณอันแยบยลที่เป็นต้นกำเนิดของ “จุดญาณทวาร” นี้ได้



 lQ2๒. กราบไหว้พระวิสุทธาจารย์ชี้นำจิตมนุษย์ เห็นถึงจิตญาณบรรลุธรรม.. แล้วเราจะเข้าใจถึงความอัศจรรย์แยบยลของจิตญาณได้อย่างไร ? ความล้ำค่าของสิ่งนี้ล่ะ ? แล้วจะเข้าใจถึงความแยบยลที่เกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งนี้กับฟ้าดินสรรพจิต ที่ต่างก็มีการเกิดดับกันแนบแน่น ตลอดจนการสรรสร้างอย่างไม่มีที่สุดได้อย่างไร ?  ดังนั้น  พระเจ้า
เซวียนเอี๋ยน(พระเจ้าเหลือง)  ทรงต้องกราบไหว้พระอาจารย์ ๗๒ ท่าน สุดท้ายกราบไหว้กว่างเฉิงจื่อจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้  พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงต้องเสียสละความสุขของพระราชสมบัติ ออกแสวงหาปฏิบัติธรรมในป่าหิมาลัยแล้วกราบไหว้พระทีปปังกรพุทธเจ้า ได้พระองค์ทรงมาพยากรณ์จนบรรลุธรรม ท่านขงจื่อต้องเดินถามไถ่ในจริยธรรมถึงที่พำนักของท่านเหล่าจื่อ ท่านพระบรรพจารย์เสินกวางยื่นท่ามกลางหิมะในเขาซงซันแห่งวัดเส้าหลินเพื่อแสวงหาหนึ่งจุดพ้นเงื้อมมือยมบาล การตัดแขนตนเอง เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า พระบรรพจารย์รุ่นที่ สอง เสินกวาง เพื่อแสวงหาหลักธรรมแท้แห่ง “หลักสัจธรรมการถ่ายทอด” ทั้งสิ้น



 lQ3๓. ธรรมอยู่ในตัว นอกกายไร้ธรรม ดังนั้นธรรมก็คื่อจิตญาณของตนเอง.. เมิ่งจื่อกล่าวว่า.. “คนเราเลี้ยงไก่เลี้ยงสุนัข เมื่อปล่อยแล้ว กลับรู้จะจักร้องเรียกจับกลับมา แต่เมื่อปล่อยจิตปล่อยใจของตนออกไปแล้ว กลับไม่รู้จักเรียกกลับมา น่าเวทนานัก” จะเห็นได้ว่าชาวโลกได้ปล่อยปละละเลยจิตมโนธรรมอันดีงามของตนไป กลับไม่รู้จักเรียกร้องให้กลับมา กระนั้น จิตญาณอันดีงามนี้ ก็อยู่ในร่างกายของเราเอง แล้วเราละเลยมันได้อย่างไรล่ะ ? เพราะว่าหลักจิตญาณแห่งแดนนิพพานที่ฟ้าเบื้องบนประทานให้เรานี้ เริ่มแต่เราได้เข้าสู่แดนโลกียะอันเป็นเขาวงกตนี้เป็นต้นมา  ได้ผ่านการผันแปรจากแดนโลกุตระเข้าสู่โลกโลกียะแล้ว  จิตเดิมอันบริสุทธิ์นั้น ได้เกลือกกลั่ว อยู่ในพลังของสภาวะทินนิศ(อินหยาง) จิตเดิมอันดีงามได้ถืออารมณ์เรื่องราวทางโลกีย์ครอบงำ ทำให้ปัญญาแห่งสัจธรรม แปรผันกลายเป็นปัญญาทางโลกีย์ จากจิตเดิมกลายเป็นวิญญาณที่ติคในอายตนะ จิตเดิมถูกธาตุทั้งห้าควบคุม จากโลกุตรารมณ์กลายเป็นโลกียารมณ์ จากโลกียารมณ์กลายเป็นอนุสัย จากการเปลี่ยนผันเช่นนี้ ทำให้จิตเดิมที่เป็นประธานแห่งตน ถูกละเลย เมื่อประธานถดถอย จิตอารมณ์เข้ายึดอำนาจ จึงใช้จิตอายตนะตัดสินความ ดังที่พระเยซูเจ้าตรัสไว้ว่า “พระเจ้ายอมอำนาจ” นี่ก็คือความหมายตามที่กล่าวมานี้ จากนี้ต่อไป ชาวโลกก็อาศัยแก่นแท้จิตธรรมนี้  ซึ่งเสมือนดั่งแกะที่หลงทาง ที่ไม่รู้สภาพที่เป็นจริง ไม่รู้จักแสวงหาความจริงเหล่านี้ สุดท้ายต้องยอมรับโจรเป็นบิดา ยอมรับจิตเลือดเนื้อเป็นจิตเดิม ปล่อยให้มันกำเริบเสิบสาน กระทำการใดๆตามอำเภอใจ โดยไม่รู้จักประเมินตน ยิ่งเปลี่ยนยิ่งเลวร้ายลง จากนี้ไปมารร้ายก็กุมอำนาจอยู่ภายใน โจรทั้งหก(อายตนะ๖)กุมอำนาจอยู่ภายนอก  จิตอาชาดิ้นผยอง สร้างความสับสนวุ่นวายในท่ามกลาง จิตวานรหลุดจากพันธนาการ สร้างความวุ่นวายให้กับแดนสวรรค์  จนไม่อาจควบคุมได้  เพราะได้สร้างเวรสร้างกรรม ก่อกรรมทำเข็ญ  กรรมวิบากพัวพัน เวียนว่ายไม่หยุดหย่อน ใจคนตกต่ำทุกวัน คุณธรรมเสื่อมทรามทุกเวลา เภทภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็จะเกิดอุบัติขึ้น  จากนี้ต่อไป  ชาวโลกทุกคน ล้วนต้องใช้ชีวิตอยู่ในทะเลทุกข์  หนทางสวรรค์ไม่รู้จักแสวงหา หนทางนรกตกต่ำช่วยกันไช หนทางตรงแต่เดิมนั้น  ไม่มีผู้ใดที่จะสนใจถามไถ่เลย พระคัมภีร์คุณธรรม ๘ ยังจะมีใครเหลียวแลอีกเล่า ? ดังนั้น เส้นทางตรงที่ถูกต้องนิ้  ต้องถูกปล่อยให้รกร้างอุดดัน หน้าประตูสุขาวดี ก็ต้องปิดตายลง ดังคำเมิ่งจื่อกล่าวว่า.. “ช่องหุบเขาสายนที เมื่อใช้นานวันไปก็จะกลายเป็นเส้นทางเดินได้  หากหนทางที่ไม่ได้ใช้งาน นานวันก็จะรกร้างเดินไม่ได้” ก็คือความหมายอย่างนี้  เพราะว่าชาวโลกละเลยต่อจิตเดิม จนไม่รู้ว่าจะต้องเดินไปไหน จนกระทั่งหนทางเดินที่แท้จริง กลับปล่อยให้รกร้างเป็นทางตันไป ดังนั้นจึงไม่มีหนทางใด ที่จะแสวงหาหลักธรรมจิตเดิมแท้นี้กลับมาได้ เหล่านี้เป็นสาเหตุทั้งมวล ที่ต้องกลับมาแสวงธรรม  ต้องกลับมาบำเพ็ญธรรมกัน


 lQ4๔. การแสวงธรรมเป็นการค้นหาจิตญาณเดิมกลับคืนมา.. การแสวงธรรมนั้นเป็นอย่างไร ? นั่นก็คือเป็นการค้นหาจิตเดิมที่สูญหายให้กลับคืนมา การบำเพ็ญธรรมเป็นอย่างไร ? นั่นก็คือการบำเพ็ญฟื้นฟูหนทางตรงของการค้นหาจิตเดิม  หากว่าไม่มาแสวงธรรม ไม่เข้าใจถึงต้นกำเนิดขอบเขตของจิตเดิม และก็ไม่สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของการสูญเสียจิตเดิม ตลอดจนถิ่นแดนที่ถูกจองจำ หากว่าไม่บำเพ็ญธรรม ก็ไม่สามารถกำจัดอุปสรรคในวิถีได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรควรลุกคืบ เมื่อไรควรตั้งรับ แล้วจะถอยห่างจากมาร สิ่งครอบงำจิตใจทั้งปวงได้อย่างไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมาแสวงธรรม บำเพ็ญธรรม จึงจะสามารถกอบกู้จิตเดิมกลับมา เพื่อกลับคืนสู่มาตุภูมิเดิมแห่งแดนสุขาวดีได้ เพื่อให้นายประธานของเราได้กลับมาเห็นเดินเห็นตะวันกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อได้กลับไปเข้าเฝ้าพระมารดาเจ้า  เข้าร่วมงานชุมนุมนาคเกสร จึงนับได้ว่าเป็นงานที่งดงามยิ่งแล้ว !

คำโศลกกล่าวไว้ว่า..
อ้างถึง
“ธรรมขึ้นอยู่กับอริยะบำเพ็ญอยู่กับตน  บารมีสั่งสมด้วยคนชะตาฟ้าบัญชา”

 ยังกล่าวว่า..

อ้างถึง
“ต้นกำเนิดชีวิตไม่เคยรู้        ร่ำไห้อยู่กับหมาไก่ตามกลับมา    
เวทนาปล่อยใจไม่กลับมา        สนองกาลหาธรรมวางปูทางไป
กระจ่างรู้ดุจราตรีได้พบแสง     ความมืดมิดถูกแทงสว่างใส  
หากชาตินี้ไม่มาบำเพ็ญกาย        แล้วจะให้ช่วยกายนี้ได้เมือใด”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2011, 07:51:25 AM โดย admin » บันทึกการเข้า
admin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 06:43:16 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


4. วิวัฒนาการของมหาธรรม (แนะนำพงศาธรรม – อธิบายหลักจิตญาณ)


 lQ1๑. ฟ้าดินมีต้นกำเนิดจากธรรม.. ธรรมปารมิตาคัมภีร์กล่าวไว้ว่า.. “มหธรรมไร้รูป ก่อกำเนิดฟ้าดิน” ยืนยันว่าฟ้าดินถือกำเนิดมาจากธรรม ก่อนที่ฟ้าดินจะกำเนิดก็มีหลักธรรมนี้อยู่ก่อนแล้ว ในคัมภีร์บันทึกประวัติศาสตร์กล่าวว่า.. “เบิกฟ้าเกิดในยุคจื่อ แล้วดับในยุคซวี้  เบิกแผ่นดินในยุคอิ๋ว เกิดมนุษย์ในยุคอิ๋น แล้วดับในยุคเสิน” สมัยที่ยุคอิ๋นกำเนิดมนุษย์  จิตญาณดีงาม ถือกำเนิดจากฟ้า อำนาจอยู่กับฟ้า ไม่มีคำพูดใดที่จะกล่าวออกมาได้



 lQ2๒. ความเป็นมาของการจุติหลักธรรม.. หลักธรรมจุติในยุคช่วงกลาง มนุษย์ให้กำเนิดมนุษย์  อำนาจขึ้นอยู่กับมนุษย์  เริ่มต้นจากพระเจ้าฟูซี แหงนพระพักตร์ทรงสำรวจ เข้าใจการโคจรของฟ้าดิน แล้วร่างสัญญลักษณ์แห่งปฐมภูมิ ๘ สัญญลักษณ์(ปากว้า) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความอัศจรรย์ของฟ้าดิน ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจุติมหาธรรมสู่โลกา ต่อมาพระเจ้าเซวียนเอี๋ยนเป็นยุคประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษร สร้างพระราชวัง ทอผ้าเครื่องแต่งกาย สร้างอารยธรรมที่เพรียบพร้อม  ยุคเรียกว่า ธรรมปรากฎ จากนั้นถึงยุคพระเจ้าเหยา พระเจ้าซุ่น พระอวี่ พระเจ้าทัง พระเจ้าเหวินหวัง ตลอดจนพระอนุชาโจวกง ที่สืบสานพงศาธรรมมาเรื่อย วิถีจิตก็ถ่ายทอดเป็นเส้นสาย ในยุคดังกล่าวเรียกว่ายุคเขียวสนองกาล  หลักธรรมถึงพร้อมทุกด้าน  เมื่อโลกเข้าสู่ยุคมืด เจ้าเผด็จการทั้งห้าครองอำนาจ มีการต่อสู่ช่วงของเหล่าวีรบุรุษทั่วแผ่นดิน การปกครองของเจ้าไม่สามารถดำเนินการในแผ่นดินได้ หลักธรรมเข้าสู่ยุคแดง หลักธรรมได้แบ่งออกเป็น ๓ ศาสนาใหญ่ จากยุคนี้เรียกว่าหลักธรรมแบ่งสาย  ศาสดาเหล่าจื่อประกาศศาสนาเต๋า  ทิศบูรพาได้โปรดขงจื่อ ที่ถ่ายทอดคำถอนหายใจประดุจมังกร ทิศปัจฉิมโปรดพระเจ้าหูหวัง ซึ่งได้ปรากฎพลังแสงแห่งธรรมที่เหิงกวน กวนอี๋จื่อพยายามขอให้เหล่าจื่อหยุดเดินทางเพื่อประพันธ์หนังสือ  จนได้ธรรมปารมิตาคัมภีร์ห้าพันอักษรจีนขึ้น ถือเป็นพระบูรพาจารย์แห่งศาสนาเต๋า ท่านขงจื่อรอมแรมแว่นแคว้นต่างๆ สั่งสอนไปทั่วทิศ ได้ชำระความบทกวีคัมภีร์(ซือจิง)และจริยคัมภีร์(หลี่จี้)  เพื่อสืบทอดอดีตปูทางสู่อนาคต เพื่อประกาศซึ่งหลักธรรมที่ไม่แปรเปลี่ยนตลอดกาล เพื่อสถาปนาศาสตร์วิชาที่ไม่เปลี่ยนตลอดกาล ความอัศจรรย์แยบยลของมหาธรรม ทั้งคัมภีร์มหาศึกษา จงยง ได้อรรถาธิบายจนเจนจบ จนกลายเป็นปรมาจารย์แห่งศาสนาปราชญ์ จากขงจื่อถ่ายทอดให้เจิงจื่อ เจิงจื่อถ่ายทอดให้จื่อซือ จื่อซือถ่ายทอดให้เมิ่งจื่อ หลังจากยุคของเมิ่งจื่อแล้ว พงศาธรรมได้ขับเคลื่อนไปยังถิ่นตะวันตก วิถีจิตจึงหยุดถ่ายทอด จนผ่านยุคราชวงศ์ฉิ๋น ฮั่น จิ้น สุย ถัง แม้จะมีการวิจารณ์กันอย่างทั่วหน้า แต่ก็ไม่มีผลงานที่เข้าถึงแก่นแท้  เพราะหลักธรรมอยู่นอกเขตแดนแล้ว



 lQ3๓. ถ่ายทอดธรรมแต่ไม่ได้รับธรรม.. เกิดมาไม่ได้ประจวบกับยุคกาลสมัย จวบจนยุคราชวงศ์ซ่ง ชะตาแห่งปราชญ์ได้โคจรเข้ามาอีกครั้ง ดวงดาราทั้งห้าจัดเรียงเป็นแนวเดียวกัน ซีอี๋เป็นสำนักแรก ตามด้วยสำนักเหลียน ลั่ว กวน หมิ่น บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น โจวดุนอี๋ เฉิงอี๋ เฉิงฮ้าว จางไจ้ จูซีเป็นต้น ศาสนาปราชญ์จึงรุ่งเรืองบุคคลเหล่านี้ แต่กระนั้นก็ไม่อาจประสบกับยุคกาลธรรม จึงไม่อาจที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพงศาธรรมได้ ยุคสุดท้ายที่ประจวบเหมาะคือยุคสมัยของเมิ่งจื่อ งานธรรมวิถีแห่งจิตของพงศาธรรมจึงผันแปรไปสู่ดินแดนตะวันตก องค์พระศากยมุนี
ของพุทธศาสนาเป็นผู้รับช่วงต่อ ดังนั้น นักราชญ์ในดินแดนประเทศจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ทำได้เพียงแค่ประกาศธรรมประสงค์เท่านั้น พระศากยมุนีพุทธเจ้าในแดนตะวันตกจึงได้สืบสานพงศาธรรมต่อไป ได้ปกโปรดพระสาวกมหากัสปะเถระเป็นพระบรรพจารย์รุ่นต่อไป



 lQ4๔. ศาสนาเต๋า พุทธ ปราชญ์ถ่ายทอดพระสูตรคัมภีร์.. หลักธรรมได้แบ่งออกเป็นสามศาสนา แยกกันออกไปถ่ายทอดคนละทิศทาง ต่างเหรือพระคัมภีร์ไว้ พุทธศาสนาได้ถ่ายทอดถึงรุ่นที่ ๑๕ พระโพธิธรรมเถระ พระโพธิธรรมเถระเดินทางเข้าแผ่นดินจีนตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ หลักธรรมได้ฟื้นฟูเจริญขึ้นอีกครั้งในจีน ตรงกับความหมายที่ว่า “สายน้ำไหลย้อนกลับ” เริ่มแต่พระโพธิธรรมเข้าสู่จีนแล้ว หลักธรรมจิตวิถีได้ถ่ายทอดเป็นสายธรรมอีกครั้ง พระโพธิธรรมจึงเป็นพระปฐมาจารย์ถ่ายทอดให้พระเสินกวางรุ่นที่สอง พระเสินกวางถ่ายทอดให้เจิงช่านเถระรุ่นที่สาม พระเจิงช่านเถระถ่ายทอดให้พระต้าวสิ้นเถระรุ่นที่สี่ พระต้าวสิ้นเถระถ่ายทอดให้พระหงเหยิ่นเถระรุ่นที่ห้า พระหงเหยิ่นเถระถ่ายทอดให้พระฮุ่ยเหนิงเถระรุ่นหก ในพระบรรพจารย์รุ่นที่หกยุคนี้  บาตรและจีวรจึงหยุดการถ่ายทอด พุทธศาสนานิกายฌาน(เซ็น)จึงเป็นเป็นสองสายเหนือใต้  หลักธรรมได้เข้าสู่ครัวเรือนปุถุชน พระฮุ่ยเหนิงเถระ------- นามหลู่ซื่อ ฉายาฮุ่ยเหนิง ฉายาธรรม พระมหาเถราจารย์ฮุ่ยเหนิง เป็นพระนิรมานกายพระภาคหนึ่งของพระกษิติครรภ์ราชาโพธิสัตว์ มีผลงานนิพนธ์ที่เลืองลือคือ “พระบรรพจารย์รุ่นที่ ๖
ธรรมสูตร(สูตรฮุ่ยเหนิงเว่นหล่าง)”



 lQ5๕. ธรรมจุติครัวเรือน.. พระฮุ่นเหนิงได้โปรดซุนฟูเหยิ่นแห่งศาลเจ้าม้าขาว หลักธรรมจุติครัวเรือน สมัยนั้น พระหงเหยิ่นได้มอบ “บาตรและจีวร” ให้กับฮุ่ยเหนิงนั้น ท่านได้กำชับในยามราตรีกาลว่า อย่าให้พงศาธรรมนี้ถูกตัดขาด แต่ก็ไม่ควรถ่ายทอดให้กับพระสงฆ์เลว ต่อมาพระฮุ่ยเหนิงถูกพระสงฆ์เลวตามไล่ล่าเพราะบาตรและจีวรนี้ พระฮุ่ยเหนิงต้องหลบหนี้ถึงเมืองฉาวซีในมณฑลกวางตง  ครั้งที่สองก็ถูกไล่ล่า โชคดีที่ได้ท่านไบ่อวี้ฉานช่วยไว้ได้ในท้องนา แล้วได้นิมนต์ท่านเข้ามาที่บ้าน พระฮุ่ยเหนิงได้มอบบตรและจีวรสมใจ ต่อมาได้พบกับหม่าตวนหยาง ท่านก็ได้ถ่ายทอดสัทธรรมต่อไป จากนี้ไปพุทธศาสนาก็ซบเซาศาสนาปราชญ์รุ่งเรืองแทน ธรรมรุ่งเรืองในครัวเรือน ความลับสวรรค์นี้ ไม่ต้องการให้คณะสงฆ์ได้ล่วงรู้ ฉะนั้นจึงไม่มีบันทึกไว้ใน พระบรรพจารย์รุ่นที่ ๖ ธรรมสูตร (สูตรฮุ่ยเหนิงเว่นหล่าง)




 lQ1๖. พระบรรพจารย์รุ่นที่ ๖-๗ พงศาธรรมได้ขาดช่วงไผนับพันปี.. เริ่มแต่ปลายยุคราชวงศ์ถัง ยุค ๕ สมัย ราชวงศ์ทั้งสอง หยวน หมิง ชิง จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาพันกว่าปี  เป็นยุคสมัยที่หลักธรรมแฝงเร้น แต่ละศาสนาได้กลายมาเป็นการสั่งสอนทั่วๆไป ในระหว่างนี้คิดจะสดับธรรมยากเสียยิ่งกว่าการขึ้นสวรรค์ พระฮุ่นเหนิงเถระเคยกล่าวไว้ว่า.. “จากนี้ไปศาสนาพุทธต้องตกต่ำ ปราชญ์กลับนำพระสัทธรรมนั้นเพราะข้า  ยุคสามปลายกัปป์เก็บงานพา จิตศรัทธาเที่ยงธรรมรับมัชฌิมา” เหตุนี้เริ่มจากไบ่อวี้ฉาน หม่าตวนหยางจึงถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๗ หลัวเว่ยฉวินเป็นพระบรพจารย์รุ่น ๘ หวังเต๋อฮุ่ยเป็นพระบรพจารย์รุ่นที่ ๙ หูจื่อเสียงเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๐ เหอเหลี่ยวขู่เป็นพระบรรพจารย์รุ่นท่ ๑๑ หยวนทุ้ยอันเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๒ หยางหวนซวีเป็นพระและสวีหวนอู่บรรพจารย์รุ่นที่ ๑๓ หยาวเห้อเทียนเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๔ หวังเจวียอีเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๕ หลิวชิงซวีเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๖ เหล่านี้เป็นพระบรรพจารย์ในยุคแดง ๑๖ รุ่นครบสมบูรณ์




 lQ2๗. ยุคขาวสนองกาล.. หลักธรรมผันเข้าสู่ยุคขาว ถึงยุคสมัยแห่งพระไมเตรยะ ลู่จงอีเป็นพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๗ เปิดการปกโปรดครั้งใหญ่ เป็นช่วงกาลอันวิเศษครั้งใหญ่ กงฉังพระบรรพจารย์รุ่นที่ ๑๘ ทั้งกงฉัง จื่อซี่ ทั้งสองสืบสานเก็บงานปลายกัปป์สุดท้าย ปกโปรดสามโลก ศาสนาทั้งปวงรวมเป็นหนึ่ง ก่อนหน้าสามยุคในอดีต หลักธรรมอยู่ที่ประมุขผู้นำแคว้น หนึ่งคนปกครองทั่วแผ่นดิน ถือเป็นยุคเขียว สามยุคให้หลังมา หลักธรรมอยู่ในตัวนักปราชญ์ สืบสานในสามศาสนา ต่างถ่ายทอดกันคนละทิศคนละทาง ถือเป็นยุคแดง จนถึงปัจจุบันเป็นยุคสามปลายกัปป์ กระแสโลกเสื่อมทราม มหันตภัยคุกคาม แผ่นดินไม่มีความสงบสุข หลักธรรมอยู่ในปุถุชน ทุกๆคนก็สามารถรับธรรมได้ ทุกท่านก็สามารถบรรลุธรรมได้ ถือเป็นยุคขาว เหล่านี้เป็นวิวัฒนาการของหลักธรรม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2011, 12:15:52 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
admin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 07:49:08 AM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


๕. พระวิสุทธาจารย์ในพงศาสธรรมกับพระโองการสวรรค์ของพระวิสุทธาจารย์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ตอบ  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

+ ตอบด่วน
 


96 ธรรมคือแรงใจ | ปิ๊งแว๊บ ! ปััญญาแจ่มบรรเจิด | อ่านธรรม | มูลนิธิเมตตาอาทร | เสบียงบุญ | วิถีอนุตตรธรรม |

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น

1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นเวบบอร์ดโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไปและสมาชิก
ซึ่งทีมงาน 96rangjai มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
4. ทีมงาน 96rangjai ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น