ยินดีต้อนรับสู่ฟอรั่ม 96 เสวนาธรรมบำเพ็ญ
กรุณา ลงทะเบียน เพื่อสามารถใช้งานฟอรั่มได้อย่างเต็มรูปแบบ !
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและใช้เวลาเพียงเล็กน้อย

"โดยพื้นฐานธรรมชาติเดิมแท้ของตัวเรา
เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และสะอาด
ถ้าเรารู้จิตของเราและเห็นถึงธรรมชาติเดิมแท้ของเรา
เราทั้งหลายก็จะบรรลุถึงความเป็นพุทธะ"

หน้า: [1]   ลงล่าง
  ตอบ  |  พิมพ์  
Share this topic on FacebookShare this topic on Twitter
ผู้เขียน หัวข้อ: พ้นโง่ พ้นฉลาด  (อ่าน 2964 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
admin
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2011, 03:58:41 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



พ้นโง่ พ้นฉลาด

 อรรถาธรรมโดย ดร.อนันต์
 :lS2:ผู้ปฏิบัติธรรมหรือศึกษาพระพุทธศาสนามีความเข้าใจว่ามนต์อันเป็นคำสอนของพระ พุทธองค์ นำมาท่องบ่นแล้วเกิดความศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ให้พ้นไปจากตนเองได้ มนต์จึงกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่ง ความจริงแล้วมีคำกล่าวที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า คนที่สวดมนต์ดีกว่าไม่สวด คนที่เข้าใจความหมายของมนต์ดีกว่าคนสวดมนต์ แต่คนที่สามารถปฏิบัติตามมนต์ได้ย่อมดีกว่าคนที่เข้าใจความหมายแต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้น พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ประทานโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป" เพื่อให้ท่องบ่นกันทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ใน โศลกนี้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร แม้จดจำถ้อยคำของท่านได้ก็เสียเปล่า คำว่า "นิรรูป" หมายถึง ไม่มีรูปและกล่าวได้ว่าสิ่งที่รู้รูปนั้นก็คือ "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นความหมายแห่งโศลกนี้จึงเป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" ที่จะนำพาคนทั้งหลายได้พ้นไปจากบาปกรรมทั้งปวง พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า "อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรมรวมทั้งคำสอนในนิกายธยานะอาจเปรียบได้ดัง ดวงอาทิตย์กำลังแผดแสงจ้าอยู่กึ่งกลางนภากาศ บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไรนอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เพียงอย่างเดียวและตั้งใจในการที่ท่านกลับมาสู่โลกนี้ก็เพื่อขจัดพวกความ เห็นผิด" คำสอนอันเกี่ยวกับ "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกว่า "นิรรูป" เพราะฉะนั้นการอธิบายสิ่งที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งนัก คำสอนทั้งปวงพระอริยเจ้าจึงพุ่งตรงที่จิต เพราะภาวะ "นิรรูป" จึงเป็นสัจธรรมที่นำพาให้ธรรมญาณคืนกลับไปสู่สถานเดิมได้ แต่เพราะเข้าใจยากจึงมีความเห็นผิดเกี่ยวกับภาวะ "ธรรมญาณ" เป็นเรื่องโต้แย้งได้ไม่มีที่สิ้นสุด ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์สามารถทำให้ท้องฟ้าสว่างไสวได้ฉันใดปัญญาของพระอริย เจ้าย่อมทำให้คนหลงที่ไม่งงงายจนเกินไปอาจพ้นไปจากเมฆหมอกแห่งกิเลสตัณหา บดบังฉันนั้น เพราะแท้ที่จริงทุกคนต่างมี "ธรรมญาณ" เหมือนกันทั้งนั้นเพียงแต่ว่าใครมีเมฆแห่งกิเลสบังเอาไว้หนาทึบมากกว่ากัน เท่านั้นเอง พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกต่อไปว่า "แม้แบ่งแยกธรรมปฏิบัติออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และ "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง แต่ก็ยังมีคนบางพวกที่รู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นเพราะคำสอนของระบอบนี้ มุ่งให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" ซึ่งระบอบที่คนโฉดเขลา เข้าใจไม่ได้" ความหมายแห่งโศลกตอนนี้มีคำอธิบายได้ว่า การถ่ายทอดจาก "จิต" สู่ "จิต" นัน้เป็นลักษณะของฉับพลันแต่พื้นฐานของบุคคลเหล่านี้กล่าวได้ว่าต้องมีการ ปฏิบัติธรรมาอย่างลึกล้ำหลายชาติ ผ่านมาจนบารมีสูงส่งพอรับรู้ก็สว่างไสวในทันทีทันใดเช่นเดียวกับการถูกตบ หน้า "ธรรมญาณ" ก็สว่างโพลงฉับพลัน แต่ผู้ที่ไร้รากฐานทางงธรรมะซึ่งเปรียบได้ดังหญ้าที่ปราศจากรากแม้ได้รับน้ำ ฝนมากแค่ไหน หญ้านั้นก็ไม่อาจปริหน่อเจริญเติบโตเลยบุคคลเหล่านี้แม้ในกายตนมี "ธรรมญาณ" เช่นกัน แต่ไม่มีบารมีเพียงพอที่จะรับได้เพราะกิเลสร้ายบดบังเยี่ยงเดียวกับเมฆบดบัง พระอาทิตย์ฉะนั้น พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "เราอาจอธิบายหลักธรรมระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้งหมื่นวิธี แต่คำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้นในดวงหทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น ต้องดำรงแสงสว่างแห่งปัญญาเอาไว้เนืองนิจ" การที่อารมณ์ครอบงำ "ธรรมญาณ" ซึ่งหมายถึงภาวะสติปัญญามิได้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ก่อให้เกิดกรรมเวรมากมาย ซึ่งห่อหุ้มจาก "ธรรมญาณ" มืดมิด แต่แสงสว่างแห่งปัญญาจึงเปรียบเสมือนหนึ่งประทีปที่ทำให้ความมืดหายไป เพราะฉะนั้นใครที่มั่นคงในปัญญาย่อมมีโอกาสที่สว่างไสวด้วย "ธรรมญาณ" ของตนเอง "ความเห็นผิดย่อมทำให้เราจมปลักอยู่ในห้วงกิเลส ส่วนสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นถูกย่อมเปลื้องเราให้พ้นไปจากกองกิเลสนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่เราอยู่ในฐานะที่พ้นไปจาก "ความเห็นผิด" และ "ความเห็นถูก" เมื่อนั้นเราจักบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด" ความเห็นถูกย่อมสร้างผลผูกพันความถูกเอาไว้เช่นเดียวกับ "ความเห็นผิด" ย่อมสร้างผลผิดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าความเห็นนั้นอยู่ในลักษณะใดก็ตามก็เกิดความยึดมั่นถือม่น เพราะฉะนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่อาจมีภาวะแห่งความบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดได้เลย "ความถูก" ก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่งซึ่งเราหลงติดยึดโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่นคนยึดติดในการ ท่องบ่นมนต์ โดยไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงแต่มุ่งมั่นว่าต้องศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาล ลาภผล โดยที่ตนเองไม่ต้องลงเรี่ยวแรงประกอบการงานเลย ความเชื่อเช่นนี้จึงเป็นความงมงายที่แท้จริง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ตอบ  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

+ ตอบด่วน
 


96 ธรรมคือแรงใจ | ปิ๊งแว๊บ ! ปััญญาแจ่มบรรเจิด | อ่านธรรม | มูลนิธิเมตตาอาทร | เสบียงบุญ | วิถีอนุตตรธรรม |

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น

1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นเวบบอร์ดโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไปและสมาชิก
ซึ่งทีมงาน 96rangjai มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
4. ทีมงาน 96rangjai ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น