96เสวนาธรรมบำเพ็ญ

เสวนาธรรม-พูดคุย => บำเพ็ญธรรมกับการกินเจ => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ สิงหาคม 01, 2011, 10:42:56 PM



หัวข้อ: หัวใจของการกินเจมี 3 ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ สิงหาคม 01, 2011, 10:42:56 PM

หัวใจของการกินเจมี 3 ประการ

1. กินเจเพื่อฝึกเมตตา
2. กินเจเพื่อตัดกรรม
3. กินเจเพื่อสุขภาพ


    :lQ1:กลุ่มใดจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม  เพื่อนร่วมโลก ถือศีลเจริญเมตตาธรรมก็ฝึกไป
   กลุ่มใดจะบวช  บำเพ็ญศึกษาสัจธรรมตัดกรรมก็อยู่วัด อยู่วาไป
   กลุ่มใดจะอ้างอิงวิทยาศาสตร์  วิชาการ เน้นสุขภาพ    ก็เน้นไปถนัดอย่างใดก็รณรงค์อย่างนั้น

   แต่การเป็นคนไทย  ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นเมืองแห่งแผ่นดิน ธรรมแผ่นดินทอง  ประเทศไทยมีวัดอยู่ทั่วประเทศเยอะแยะ ไปหมด  คนไทยชอบทำบุญ  แต่ถ้าถามคนไทยว่าทำบุญเพื่อ อะไร ?  ทุกคนก็จะตอบเหมือนกันหมดว่า  “ทำบุญเพื่อเอา ไว้กินชาติหน้า”  น้อยรายที่จะตอบว่า  “ทำบุญเพื่อขจัดจิต โลภของตัวเอง  เพื่อฝึกตัวเองให้รู้จักการให้บ้าง”

   ฉะนั้น การตอบจะมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเอาไว้กินชาติ หน้าก็เพื่อตัวเอง  อีกกลุ่มหนึ่งให้คนอื่น  แสดงว่ากลุ่มแรก ต้องเวียนว่ายตายเกิดและมาเสวยบุญของตัวเอง  ส่วนกลุ่มที่ สองไม่ต้องการเกิด  เพราะไม่ได้หวังไว้ให้ตัวเอง คือทำเพื่อคน อื่น  การทำเพื่อคนอื่นก็คือ..พระโพธิสัตว์  คุณลักษณะการ ที่จะได้เป็นพระโพธิสัตว์คือมีเมตตาเป็นหลักนั่นเอง

   การเกิดเป็นคน  ถ้าไม่เข้าใจสัจธรรมการเกิดตาย  ไม่ เข้าใจการเวียนว่ายตายเกิด  ว่ามันเป็นทุกข์เพียงไหน ?  ก็ เห็นทีจะเสียชาติเกิด  อยู่เมืองพุทธซะเปล่า  แต่ไม่รู้จักศึกษา หลักธรรม  กฎของธรรมชาติ  



   สัจธรรมกับธรรมชาติก็คือ..ธรรมะ นั่นเอง แต่ถ้าพูด รวมๆ กันแล้ว  ทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่ฝึกเมตตาได้ด้วยกัน ทั้งนั้น  เรามาฝึกเมตตาต่อสัตว์โลกกัน  คำว่าสัตว์โลกไม่ได้ หมายความว่าสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น  แต่หมายถึงทุกชีวิตในโลก    มนุษย์เราก็เป็นสัตว์โลกเช่นกัน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเวไนย สัตว์  ลองดูซิ !  เราเดินข้ามสะพานลอยในกรุงเทพฯ  เราจะ เจอขอทานบ่อยๆ ทั้งต้นสะพานและปลายสะพาน   บางครั้ง กลางสะพานก็มีด้วย  ฝึกเมตตาอย่างง่ายๆ  เราเคยให้เศษ สตางค์กับเขาเหล่านี้ไหม ?  เคยฝึกการเป็นผู้รู้จักการให้กัน บ้างไหม ?  การให้ง่ายๆ แบบนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามองข้าม และในการให้ลักษณะนี้ยังมีข้อจำกัดด้วยว่าเราจะให้เศษสตางค์ กับขอทานที่อยู่ต้นสะพานหรือปลายสะพาน  หรือให้เฉพาะที่ อยู่กลางสะพาน หรือให้คนที่ 1 แล้วไม่ให้คนที่ 2 ที่ 3  หรือ ให้ทั้ง 3 คน แล้วถ้าเราไปเจออย่างนี้อีกที่สะพานลอยอื่น เรา ยังมีเมตตาอยู่ไหม ?  มีความสงสารอยู่ไหม ?  ยังอยากให้ เศษสตางค์เขาเหล่านั้นอยู่หรือเปล่า ?  ช่วงท้ายเราก็จะมา คิดว่าถ้าให้เขามากเราก็จะเดือดร้อน  



   การทำบุญให้ทาน  ทำบุญอย่างไรไม่ให้เราเดือดร้อน นี่แสดงให้เห็นว่าความเมตตาของมนุษย์มีขีดจำกัด  แต่พระ อริยเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ที่พ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลาย    เมตตาของท่านไร้ขีดจำกัด  โดยเนื้อแท้ลึกๆ แล้ว  มนุษย์มี เมตตา  มีความสงสารเป็นทุนเดิมทุกคน  แต่ไม่ค่อยนำออก มาใช้  จวนตัวจริง ๆ จึงจะแสดงออกมาตัวอย่างเช่น  ถ้าเรา นั่งรถยนต์  โดยมีเพื่อนเป็นคนขับไปตามถนน  หากบังเอิญ มีสุนัขวิ่งตัดผ่านหน้ารถในระยะกระชั้นชิด เราเห็นว่าชนแน่ๆ คนแรกที่จะตะโกนบอกกับคนขับอย่างตกอกตกใจว่า “ระวัง ชนสุนัข” ก็คือเรานั่นเอง  อย่างนี้สงสารกับเมตตาเกิดขึ้นเอง โดยอัตโนมัติ  เห็นหรือเปล่าว่า ลึกๆ แล้วทุกคนไม่ต่างกันเลย

   เราบอกว่าเราชอบทำบุญ  ชอบไปวัด  ทุกครั้งที่ไปวัด  เราเคยคิดไหมว่า... เราเอาอะไรไปให้พระฉัน  ลองเปิดปิ่นโต ของตัวเองดูซิเต็มไปด้วยปลา เป็ด ไก่ หมู เนื้อ ทั้งนั้นเลย      การทำบุญอย่างนี้เราเอาอะไรมารับรองว่า...เราได้บุญจริง  กุศลแท้  เหตุและผลอยู่ตรงไหน  ความถูกต้องคืออะไร ?  
        ปัจจุบันเราดำเนินชีวิตอยู่ตามความถูกใจไม่ใช่ถูกต้อง  เหตุเพราะไม่รู้  ไม่ศึกษาธรรมะอันลึกซึ้ง  มีชีวิตเกาะติดอยู่ กับเปลือกของศาสนา  ทั้งที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละเว้น การฆ่า  ลองท่องศีลข้อ 1 ดูซิ !... ( ปาณาติปาตา  เวรมณี   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ )
(http://pic.96rangjai.com/i/Cy.jpg) (http://pic.96rangjai.com/index.php?mod=show&id=267)