หัวข้อ: วิธีที่จะพ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเกิดตาย เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กรกฎาคม 31, 2011, 07:01:02 PM วิธีที่จะพ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเกิดตาย ? :lQ2:บนหนทางการปฏิบัติบำเพ็ญ ไม่แบกรับภาระหน้าที่ ปณิธานไม่ลุล่วง มีเหตุผลข้ออ้างต่าง ๆ มากมาย ต้องเข้าใจหลักแห่งสัจธรรมไม่มีคำว่า “เหตุผลข้ออ้าง” เบื้องหน้าอริยะพุทธะยิ่งไม่มีคำว่า “ยากลำบาก” เพียง ถามตัวเองว่าตัดสินใจเด็ดขาดแล้วหรือยัง ? :yeye13: :lQ1:ตั้งปณิธาน ลุล่วงปณิธาน เป็นจุดสำคัญที่จะสำเร็จหรือล้มเหลว เหตุนี้เราต้องอาศัยปณิธานของการ ปฏิบัติในสามทานและคุณธรรมสามัญ 5 ประการ มาตัดซึ่งการเกิดตาย 1. ในวงการธรรม อย่าวอนขอให้ผู้อื่นต้องปรนนิบัติเราอย่างดี เพียงถามตนเองว่าทุ่มเทอุทิศให้ อาณาจักรธรรมมากมายเท่าไหร่ ? 2. ด้านเยื่อใยสัมพันธ์ จิตใจของบิดามารดาก็คือจิตโพธิสัตว์จงใช้จิตใจที่ห่วงใยบุตรมาปฏิบัติต่อผู้บำเพ็ญ รอบข้างและเวไนยทั้งหลาย 3. ด้านงานทางโลก ใช้จิตใจที่ทุ่มเททางโลกมาทุ่มเทเพื่ออริยะกิจของตนย่อมสำเร็จแน่นอน 4. ต่อบุคคลทั้งหลายจะไม่แก่งแย่งชิงดี แค่แสดงความยินดีก็พอแล้ว 5. ด้านสภาวะจิต ราบรื่นหรือขัดสนอับจนก็น้อมรับสภาวะด้วยความยินดี ปล่อยให้เป็นอิสระตามเหตุ ปัจจัย 6. ด้านการงาน คิดว่าที่ทำงานก็คืออาณาจักรธรรม อาศัยบุญสัมพันธ์ฉุดช่วยตามเหตุปัจจัย “มีเพียงแค่จิตใจที่แน่วแน่ จึงจะเป็นการวางรากฐานการบำเพ็ญให้มั่นคง” ความแตกต่างระหว่างอริยะชนและปุถุชนอยู่ที่ เดินบนหนทางบำเพ็ญเหมือนกัน ได้รับการทดสอบ เจออุปสรรคเหมือนกัน แต่ - อริยะชนจะแน่วแน่ ยืนหยัดจนถึงที่สุด - ปุถุชนเจอความลำบาก กลับถดถอย ต้องมีความกล้าหาญบวกกับความยืนหยัดแน่วแน่ หนทางนี้จึงจะเดินได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย คนโบราณกล่าวว่า “อดทนต่อความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้นง่าย แต่อดกลั้นไม่กล่าวโทษ บ่นว่านั้นยาก” อดทนต่อความเหนื่อยยาก - เราปฏิบัติบำเพ็ญ ทุ่มเทสละอุทิศ ได้รับทุกข์ก็จะหมดทุกข์นี่คือภาระโองการที่ ผู้บำเพ็ญทุกคนควรน้อมรับโดยไม่มีคำใดต้องพูดอีก อดกลั้นต่อการกล่าวโทษ บ่นว่า - เมื่อเผชิญกับความไม่ราบรื่นอับจนข้นแค้น ผิดหวังก็ยังคงใจกว้างเที่ยงตรง ไม่เห็นแก่ตัว ภายในยังเบิกบานจึงนับว่าเป็นผู้กล้า ไม่ได้สูญเสียเหงื่อจากการลงแรง จะได้รับความเบิกบานในการเก็บเกี่ยวได้หรือ ในพระไตรปิฏกบันทึกว่า “ปรารถนาสัมมาสัมโพธิมรรคอันสูงส่งก่อนอื่น ต้องเป็นทาสรับใช้ให้แก่มวลเวไนย” เมื่อครั้งที่พุทธะโพธิสัตว์ทั้งหลายยังคงพระชนม์ชีพนั้น พระองค์ปฏิบัติต่อมวลเวไนยเปรียบดัง “ มารดาปฏิบัติ ต่อบุตร ไม่รู้เบื่อหน่ายคอยประคับประคองดูแล ยินยอมต้านบาปกรรมแทนเวไนย หากเวไนยยังไม่ได้รับการ ฉุดช่วยปฏิญาณไม่บรรลุพุทธะ” บำเพ็ญธรรมต้องเบิกอาณาจักรธรรมในใจของทุกคน ไม่ใช่ทำแค่ผิวเผินภายนอก ต้องใช้กายปฏิบัติ อย่าได้ทำตนเป็นแค่เพียง “ แขกรับเชิญที่มาเยี่ยมชมอาณาจักรธรรมเท่านั้น” บำเพ็ญธรรมมักมีคำกล่าวว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรมธรรมวิถีทุกสายก็ย่อมเข้าสู่พุทธะมรรค เช่นเดียวกัน วิธีง่าย ๆ ใช้รัตนตรัยทวารทั้ง 3 ก็สามารถเข้าสู่พุทธมรรคได้” 1. มีใจแห่งความศรัทธาเชื่อมั่น อาศัยจิตเข้าถึง พระพุทธ ทุกเวลาสำรวจ สำรวมตน หมั่นรักษาจิตญาณ ให้บริสุทธิ์ไร้มลทิน 2. มีใจแห่งปัญญา อาศัยใจเข้าถึงพระธรรม เบิกขุมทรัพย์ภายใน ห่างไกลจากนิสัยความเคยชินที่ไม่ดี 3. มีจิตแห่งเมตตา อาศัยกายเข้าถึงพระสงฆ์ บังเกิดปณิธานและมั่นคงในปณิธาน ปฏิบัติในหนทาง สายนี้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย การบำเพ็ญธรรมอย่าได้ยึดในธรรมวิถีใด ใช้จิตปกติธรรมดา เป็นอิสระ เบิกบานยินดี พาตนให้พ้น จากสภาวะโลกีย์และกายรูป จึงไม่มีจิตถวิลหาสภาวะต่างๆ ก็จะปรากฏความเป็นภาวะแห่งพุทธะ ทุกขณะสำรวจภายใน ยกระดับสภาวะจิต คำโบราณกล่าวว่า “หากฟ้าพิโรธลงทัณฑ์คนยังแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากตนเองสร้างกรรมเวรก็ย่อม รับผลกรรมตอบสนอง” ควรเข้าใจว่า “ การละเลยความผิดบาปของตัวเอง สาเหตุใหญ่คือเกิดจากใจที่มีแต่ ความเห็นแก่ตัวและฟุ้งเฟ้อ” บำเพ็ญธรรมมักเป็นเพราะเหตุที่ว่า - จิตเห็นแก่ตนมักจะให้อภัยตนเองเสมอ - จิตที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ ทำให้หาแต่สิ่งที่ดีมาบังหน้า จึงให้เกิดการว่ากล่าวติเตือนผู้อื่นอย่างรุนแรง แล้วอภัยให้แก่ตนเอง อริยะเมธีกล่าวว่า “ ไม่รู้ข้อบกพร่องของตนคือความโง่เขลา รู้แล้วไม่ปะเสริมหรือชดเชยให้สมบูรณ์ คือ ดื้อรั้นหัวแข็ง” บำเพ็ญธรรมพึงจำไว้ว่า “การเสริมแต่งแต่ภายนอก “ จะทำให้ความเคยชินนับวันยิ่งฝังถลำลึก ยิ่งบำเพ็ญก็ยิ่งจะห่างไกลธรรมขึ้นทุกที มีเพียงจิตบริสุทธิ์ไร้เดียงสาและเป็นจริงดวงนี้ จึงจะทำให้สามารถ ฟันฝ่าอุปสรรคความยากลำบากทั้งปวงได้” ต้นไม้ใหญ่อายุพันปี ต้องผจญกับลมฝนมรสุมมากเท่าไหร่ แต่ไม่เคยล้มมันได้ แต่สุดท้ายที่ล้มได้ เป็นเพราะมด ปลวกค่อยๆกัดแทะรากเหง้า จนเน่าเปื่อยอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผู้บำเพ็ญคือ “ ในส่วนลึกของจิต ถูกจิตมารครอบงำไว้ ยากที่จะสลัดออก” ด้วยเหตุนี้ศัตรูที่น่ากลัวที่สุดก็คือตัวเราเอง หัวข้อ: Re: วิธีที่จะพ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเกิดต เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กรกฎาคม 31, 2011, 07:03:14 PM :yeye31:
อ้างถึง ผู้ที่ให้อภัยผู้อื่นอยู่เสมอ แม้จะเป็นศัตรูคู่อาฆาตก็ยังให้อภัยเขาได้ ผลสำเร็จของการบำเพ็ญจึงได้มาจากการให้อภัย ในประตูแห่งพุทธธรรมมีคำกล่าวว่า “ ย่อตัวเองให้เล็กจึงจะผ่อนปรนให้อภัยผู้อื่นได้” ความหมายคือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน จิตใจกว้างขวาง มีมหาปัญญาจึงจะรองรับ บุญคุณ ความแค้น ความถูกผิดของเวไนย ในใต้หล้านี้ได้ บำเพ็ญจิตญาณต้องมุ่งฝังรากภายใน อาศัยสภาวะแวดล้อม เคี่ยวกรำจิตใจ อาศัยโลกีย์บำเพ็ญอริยะ หากทำเพียงแค่เปลือกภายนอก แม้ทุกวันสดับพระธรรม ฉุดช่วยเวไนยมากมายเท่าไหร่ แต่ความเคยชิน อุปนิสัยที่ไม่ดีไม่ได้แก้ไขเลยแม้แต่น้อยก็ยังคงไม่สำเร็จในธรรม |