หัวข้อ: "ทาน" และ "การให้" เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 10:52:28 AM ทาน - การให้ (http://pic.96rangjai.com/i/W.jpg) (http://pic.96rangjai.com/index.php?mod=show&id=100) อ้างถึง ทาน (การให้) เป็นไปด้วยอำนาจของเหตุ 2 อย่างคือ 1. จิตคิดบูชา 2. ความกรุณา การให้แด่ท่านที่มีคุณทั้งหลาย เช่น พ่อ แม่ ครูอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น ในโอกาสที่เหมาะสม ทานชนิดนี้สำเร็จเพราะจิตคิดบูชา คือบูชาคุณของบุคคล อีกอย่างหนึ่ง ให้ด้วยกรุณา คือเห็นทุกข์ของคนอื่น ก็เกิดกรุณาสงสาร ใคร่จะช่วยเหลือบำบัดทุกข์ ด้วยการให้และการแบ่งปันเครื่องอุปโภคบริโภคทรัพย์สิน เงินทองของตนให้ไป อย่างนี้เรียกว่า ทานสำเร็จด้วยกรุณา บางสูตรกล่าวไว้ว่า แม้เมตตาก็เป็นเหตุให้คนขวนขวายในทานเหมือนกัน คือพอเกิดจิตเยื่อใจใคร่ประโยชน์สุขต่อผู้อื่น แล้วก็ให้ทาน ในเวลาให้ทาน ความเป็น“บุญ”ไม่ใช่อยู่ตรงที่เป็นสิ่งที่จะพึงได้ แต่ “บุญ” อยู่ตรงที่เหตุที่ให้ทำอย่างนั้น คือจิตใจที่คิดบูชาบ้าง ความกรุณาสงสารบ้าง บุคคลจะรู้จักว่าเป็นบุญหรือไม่ก็ตาม ถ้าหากว่าการให้นั้นเกิดขึ้นจากเหตุเหล่านี้ ก็ชื่อว่าบุญเกิดขึ้น ก็เป็นอันว่า เมื่อมีการมอบของให้ผู้มีคุณ หรือผู้มีทุกข์.. บุญอยู่ที่จิตคิดบูชาประการหนึ่ง อยู่ที่กรุณาประการหนึ่ง ซึ่งเป็นไปร่วมกับเจตนาที่คิดสละ (http://pic.96rangjai.com/i/2.jpg) (http://pic.96rangjai.com/index.php?mod=show&id=103) จริงอยู่ ที่ท่านบอกว่า เจตนาที่คิดสละบริจาค เรียกว่า “ทาน” แต่ทั้งนี้จะต้องไปเป็น ไปร่วมกับความคิดบูชาหรือความกรุณาอย่างใดอย่างหนึ่ง เจตนานั้นถึงจะนับว่า เป็นทานได้ เพราะถ้าสละด้วยความคิดอย่างอื่น เช่น เพื่อเป็นที่โปรดปรานของผู้รับ เป็นต้น ก็ไม่ชื่อว่า ทาน” เมื่อไม่เป็นทานก็ไม่ชื่อว่า “บุญ” ทานที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งของ มีทานที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุสิ่งของ นั่นคือ การให้ความรู้แก่คนอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ เป็นการให้ความรู้เป็นทาน สงเคราะห์เป็น “ธรรมทาน” อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีผู้ประพฤติผิด ผู้อยู่ในฐานะที่จะลงโทษได้ จะเอาชีวิตเขาก็ได้ เกิดกรุณาสงสารว่า ครอบครัวผู้ทำผิดจะพลอดเดือดร้อน ไปด้วยก็งดเว้นไม่เอาชีวิต เรียกว่า “อภัยทาน” แม้การให้อย่างอื่น เช่น ให้แรงกายของตน ก็ชื่อว่าทาน บุญไม่ขึ้นกับจำนวนเงินหรือปริมาณสิ่งของที่ให้ บุญที่เกี่ยวกับทานนี้ จะนับว่ามากน้อย ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินหรือปริมาณสิ่งของที่สละ ให้แก่คนอื่นเลย ให้มากได้บุญน้อยก็มี ให้น้อยได้บุญมากก็มี ดังเรื่องในธรรมบทว่า มีเศรษฐีผู้หนึ่ง มีทรัพย์หลายสิบโกฏิ ปรารถนาจะทำบุญ ถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์แต่ทว่า ถ้าจะทำด้วยตนเอง ก็ต้องขวนขวายมาก ต้องตื่นแต่เช้า มาจัดแจงสำรับข้าวปลาอาหารเป็นต้น จึงมอบให้บ่าว (คนรับใช้) ทำแทนทุกอย่าง รวมทั้งอาหารหวานคาว สำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ ต่อมาทั้งสองคนได้ละโลกนี้ไปแล้ว นายได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นต่ำ แต่บ่าวได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นสูง ทั้งๆ ที่บ่าวไม่ต้องจ่ายเงินในการนี้เลย (http://pic.96rangjai.com/i/ewF.jpg) (http://pic.96rangjai.com/index.php?mod=show&id=104) นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า จิตใจในการให้นั้นสำคัญกว่าวัตถุ เนื่องจากบ่าวกระตือรือร้นและมีความเลื่อมใสเต็มเปี่ยม ส่วนนายนั้นแม้มีจิตทำบุญ แต่กลัวลำบาก ถ้าหากต้องลงมือทำเอง แสดงว่าศรัทธา ความขวนขวายในการบุญมีกำลังน้อยนิดบุญของ 2 คนนี้ จึงส่งผลให้ไปสวรรค์ชั้นที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น บุญจะได้มากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินทองเลย บางคนไม่ได้ทำ ไม่มีโอกาสทำ หรือไม่มีเงินทองจะทำ แต่เห็นคนอื่นทำ แล้วเกิดจิตอนุโมทนาเปี่ยมล้นว่า คนผู้นี้ได้ถวายอาหารหวานคาว ใส่บาตรพระที่เป็นพระอรหันต์ นึกอนุโมทนาและยินดีด้วยกับคนที่มีโอกาส ได้ใส่บาตรให้พระอรหันต์ กำลังของบุญ คือ อนุโมทนาของเขา มีกำลังมากว่าของผู้ใส่บาตรก็ได้ ซึ่งเห็นว่าเป็นเพียงพระทั่วๆ ไปที่ไม่ต่างจากรูปอื่น เป็นต้น ท่านจะได้เข้าใจหลักของกรรมและการกระทำทานที่มีประโยชน์ได้อย่างชัดเจน (http://pic.96rangjai.com/i/B.jpg) (http://pic.96rangjai.com/index.php?mod=show&id=102) |